การสร้างรูปแบบการบรรเลงและพัฒนารูปลักษณ์เปิงมางคอก

ผู้แต่ง

  • รังสรรค์ บัวทอง -

คำสำคัญ:

การแปลทำนอง, รูปแบบการบรรเลง, หน้าทับ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การสร้างรูปแบบการบรรเลงและพัฒนารูปลักษณ์เปิงมางคอกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการบรรเลงเปิงมางคอก และเป็นแนวทางการบรรเลงกลองเปิงมางคอกให้ผู้สนใจที่จะเข้ามาศึกษากลองชนิดนี้ ผลจากการวิจัย พบว่า รูปแบบการบรรเลงกลองเปิงมางคอกที่สร้างขึ้นใหม่ มีลักษณะการบรรเลงที่ผสมผสานรูปแบบการบรรเลงเป็นทำนองหลักและการแปลทำนองเพื่อบรรเลงสอดแทรกกับทำนองหลัก ซึ่งต้องพัฒนารูปลักษณ์เปิงมางคอกจากเดิมเปิงมางคอกมี 7 ลูก เพิ่มขึ้นเป็น 15 ลูก โดยปรับขนาดลูกเปิงมางคอกและขยายขนาดของแผงเปิงมางคอกให้รองรับการแขวนลูกเปิงมางคอก อีกทั้งจะต้องเทียบเสียงเปิงมางคอกแต่ละเสียงให้ตรงตามเสียงฆ้องมอญวงใหญ่ จากการที่ผู้วิจัยได้แสดงผลงานการสร้างรูปแบบการบรรเลง และพัฒนารูปลักษณ์กลองเปิงมางคอกให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินตามแบบเครื่องมือการวิจัยตามแบบประเมินที่สร้างขึ้น ผลการประเมินการสร้างรูปแบบการบรรเลงและพัฒนารูปลักษณ์กลองเปิงมางคอก ในเรื่องเสียงของกลองเปิงมางคอก เมื่อนำไปบรรเลงรวมกับวงปี่พาทย์มอญ มีความกลมกลืนในระดับดีมาก ในเรื่องของทักษะการบรรเลง ผู้บรรเลงสามารถแสดงทักษะการบรรเลงเปิงมางคอกระดับสูง และรูปลักษณ์เปิงมางคอกที่พัฒนา มีความเหมาะสม แต่อาจมีอุปสรรคสำหรับผู้บรรเลงกลองเปิงมางคอกในเรื่องของความเคยชินกับการบรรเลงกลองเปิงมางคอกแบบเดิม สรุปผลงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถตอบสนองทักษะการบรรเลงกลองเปิงมางคอกของผู้บรรเลงที่แสดงถึงศักยภาพของทักษะขั้นสูงให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และเป็นแนวทางรูปแบบการกลองบรรเลงเปิงมางคอกในรูปแบบใหม่ให้กับผู้บรรเลงนำไปใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญได้อย่างกลมกลืนและเหมาะสม อีกทั้งเป็นแนวทางรูปแบบการบรรเลงให้กับผู้สนใจที่จะเข้ามาศึกษากลองชนิดนี้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. (2505). สาส์นสมเด็จ. เล่ม 6. พระนคร:คุรุสภา.

งามตา นันทขว้าง. (2551). ศรีกุย ปันแสง ช่างทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2542). โครงการค้นคว้าวิจัยในพระราชดำริ เรื่อง ความถี่ของเสียงดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระ. (2521). เฉลิมพระเกียรติและรวมพระราชนิพนธ์ (พ.ศ. 2510-2520) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี.“เหตุใด ข้าพเจ้าจึงชอบดนตรีไทย”. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พิษณุ บุญศรีอนันต์ (อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เชี่ยวชาญการบรรเลงกลองชนิดต่าง ๆ). สัมภาษณ์, 25 เมษายน 2565.

พรเทพ ถุงทอง (นักดนตรีอิสระ เชี่ยวชาญการบรรเลงกลองเปิงมางคอกและกลองชนิดต่าง ๆ). สัมภาษณ์, 18 เมษายน 2565.

มนตรี ตราโมท. (2525). ดนตรีไทยภาคกลาง, ในศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม 7 นาฏดุริยางคศิลป์ไทย กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.

______. (2545). ดุริยสาส์น ของนายมนตรี ตราโมท. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย (มหาชน).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยภาคคีตะ-ดุริยางค์ ฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วาสิษฐ์ จรัณยานน์. (2538). สวนฯ เล่มน้อย. (พิมพ์ครั้งที่ 1) . สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

ศิวกานต์ ปทุมสูติ. (2548). กวีวัจนาหลากลีลาฉันทลักษณ์: สร้อยสันติภาพ. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อนุชา บริพันธุ์. (ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี สำนักการสังคีต กรมศิลปากร). สัมภาษณ์, 30 เมษายน 2565.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30