การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในความปรกติใหม่

ผู้แต่ง

  • รัฐจักรพล สามทองก่ำ College of Innovation Management, Rajamangala University of Technology Rattanakosin
  • ทนง ทองภูเบศร์
  • วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย

คำสำคัญ:

องค์การแห่งการเรียนรู้, สถาบันอุดมศึกษา, แบบปกติใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในความปรกติใหม่ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนารูปแบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในความปรกติใหม่ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาคมสถาบันอุดมศึกษาในความปรกติใหม่ โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีมในแพลตฟอร์มสมัยใหม่อย่างคล่องตัว รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่น นอกจากนี้ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษายังต้องมีเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะของประชาคมไว้อย่างเป็นระบบและเข้าถึงได้โดยง่าย จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ขณะเดียวกันยังต้องกระตุ้นให้ประชาคมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อกันในสถาบันอุดมศึกษา แนวคิดการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในความปรกติใหม่ที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความปรกติใหม่ การบริหารสถาบันอุดมศึกษา การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา องค์การแห่งการเรียนรู้ในความปรกติใหม่จากเอกสารวิชาการและงานวิจัย จะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างเหมาะสมยิ่งในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งผลให้เกิดการสร้างสิ่งใหม่ ๆ การถ่ายโอนความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา และภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นจากประชาคมที่สร้างสรรค์ พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) ด้านองค์การ ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย คือ การบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์การ การจัดการความรู้ การมีวิสัยทัศน์ร่วม และเทคโนโลยีดิจิทัล 2) ด้านบุคคล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบย่อย คือ การเป็นบุคคลที่รอบ (ใฝ่) รู้ การมีแบบแผนความคิด การเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ การเป็นนวัตกร และการเป็นพลเมืองดิจิทัล และ 3) ด้านผู้นำ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ การมุ่งนำการเปลี่ยนแปลง การเป็นเพื่อนร่วมงานด้วย เอาท์เวิร์ดมายด์เซ็ต และการเป็นผู้จัดการความเสี่ยง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกพร ภูติวัฒนชัย. (2564). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษายุคความปรกติใหม่. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 วันที่ 18 สิงหาคม 2564.

นฤมล จิตรเอื้อ. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2). 1738-1754.

ปราณี กันธิมา. (2563). การทำงานแนวใหม่เพื่อก้าวสู่ Next Normal. เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2564. สืบค้นจาก https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1139.

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560)

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (2546, 9 ตุลาคม).

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 (2562, 1 พฤษภาคม 2562)

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2564). การบริหารจัดการศึกษารับความปรกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปการจัดการ. 4(3), 783-795.

ภัททิยา โสมภีร์. (2562). การพัฒนาบุคลากรกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1). 511-524.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2563). รู้จัก "New Normal" ฉบับราชบัณฑิตยสภา. เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/292126

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 (ตอนที่ 100 ก) หน้า 4.

Mok, KH, Xiong, WY และ Bin Aedy Rahman, HN (2021). การหยุดชะงักของการระบาดใหญ่ของ COVID-'19 ในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยและการฝึกฝนความสามารถ: การประเมินประสบการณ์การเรียนรู้ออนไลน์ของนักเรียนในฮ่องกง'. วารสารนานาชาติจีนศึกษา, 10 (1): 1–20

Prabhakaran J. (2021). What is Tacit Knowledge: Importance, Benefits & Examples. Retrieved from https://document360.com/blog/tacit-knowledge/

Senge, P. M. (1990). The art and practice of the learning organization. In: New York: Doubleday.

Senge. (2006). The Fifth Discipline. Sydney: Currency Doubleday.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30