การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาปริญญาตรี
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ออนไลน์, กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก, การจัดการความรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดองค์ประกอบและร่างต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และประเมินองค์ประกอบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประชากร มี 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ประชากรในการกำหนดองค์ประกอบและร่างต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักวิชาการ อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา จำนวน 29 คน กลุ่มที่ 2 ประชากรในการประเมินองค์ประกอบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง และใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินองค์ประกอบและร่างต้นแบบของรูปแบบ เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้คือค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่ามัธยฐาน (Mdn) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นใช้หลักการ 7 ข้อ ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ การประเมินตามสภาพจริง เครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กระบวนการจัดการความรู้ และแนวคิดวิธีการเชิงระบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีขั้นตอนการจัดการความรู้ 5 ขั้น ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การแสวงหาความรู้ 3) การจัดการความรู้ 4) การถ่ายทอดความรู้ และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ส่วนการวัดและการประเมินใช้การประเมินตามสภาพจริง ทั้งนี้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ระดับมากที่สุด
Downloads
References
ชมสุภัค ครุฑกะ. (2562). เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการความรู้สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(2), 269-279.
ประพันธ์ ผาสุกยืด. (2550). การจัดการความรู้จากหลักคิดสู่การปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: ใยไหม.
พัชนี เดชประเสริฐ, จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์, ฐัศแก้ว ศรีสด, และเอื้อมพร เธียรหิรัญ. (2561, กรกฎาคม -ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 18(20), 140-157.
พินิจ มีคำทอง. (2561). กูเกิ้ลแอปพลิเคชั่น : นวัตกรรมทางการศึกษาสำาหรับครูยุคศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(3), 72-80.
ไพรัชนพ วิริยวรกุล และดวงกมล โพธิ์นาค. (2557). Google Apps for Education นวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 7(3), 103-111.
รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษฏิ์ ศรีนนท์, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์ และกรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9 (2). 331-342.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2564). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
นานมีบุคส์.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2558). การพัฒนาสื่อการศึกษาสำหรับ MOOCs จาก Best practices. สืบค้น 31 มกราคม 2564. จาก www.nstda.or.th/nstda-knowledge/289-ict/20736-moocs-6-best-practices
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). 20 บทเรียน ต้นแบบลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ Active Learning. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.
วิจารณ์ พานิช. (2559). การจัดการความรู้. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2559. จาก http://www.huahin .dusit.ac.th/bg/KM/KM_Article.pdf
ธันยพร วณิชฤทธา. (2554, 27-29 มกราคม). การยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการความรู้ในชุมชน. [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554 เรื่อง การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน, ขอนแก่น, ประเทศไทย
Ashley, J., Jarman, F., Varga-Atkins, T. & Hassan, N. (2012). Learning literacies through collaborative enquiry; collaborative enquiry through learning literacies. Journal of Information Literacy. 6(1). pp.49-71.
Desouza, K. c. & Paquette, S. (2001). Knowledge Management: An Introduction. NewYork: Neal Sehuman.
Felder, R. M. & Brent, R. (2009). Active Liarning: An Introduction. ASQ Higher Education. 2. pp.4-9.
Gallardo-Echenique, E.E., Oliveira, J.M.D, Marqués-Molias, L. & Esteve-Mon, F. (2015). Digital Competence in the Knowledge Society MERLOT. Journal of Online Learning and Teaching, 11(6). pp.1-16.
Karpati, A. (2011). Digital literacy in education. Retrieved January 31, 2020. from https://iite.unesco.org/pics/ publications/en/files/3214688.pdf
Supyuenyong, V., & Islam, N. (2006). Knowledge Management Architecture: Building Blocks and Their Relationships. 2006 Technology Management for the Global Future - PICMET 2006 Conference, 3, 1210-1219.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว