การพัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ย่านสร้างสรรค์ เมืองเก่าเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กษิรา ภิวงศ์กูร Chiang Rai Rajabhat University

คำสำคัญ:

แผนที่ทางวัฒนธรรม, ส่งเสริมการท่องเที่ยว, ย่านสร้างสรรค์, เมืองเก่าเชียงราย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย  1. เพื่อพัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ฐานข้อมูลทุนทางวัฒนธรรม ย่านสร้างสรรค์ เมืองเก่าเชียงราย และนำเสนอผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ตามฐานรองรับ ที่เหมาะสม  2. เพื่อพัฒนาต้นแบบสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง ของทุนทางวัฒนธรรม จากแผนที่วัฒนธรรม ย่านสร้างสรรค์ เมืองเก่าเชียงราย

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ฐานข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมย่านสร้างสรรค์ เมืองเก่าเชียงราย และนำเสนอผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ตามฐานรองรับ (Platform) ที่เหมาะสม ผู้วิจัยได้จัด ทำระบบฐานข้อมูลประเภททุนทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมกับชุมชน ปรากฏผลการศึกษาตามขอบเขตพื้นที่ศึกษา  พบทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ศึกษาทั้งที่เป็นวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ตามขอบเขตพื้นที่ศึกษา 11 ชุมชนในเขตย่านสร้างสรรค์ เมืองเก่าเชียงราย ปรากฏทั้งสิ้น 12 หมวดหมู่ จำนวนรวม 96 รายการ 2. การออกแบบเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) โดยใช้การออกแบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้สื่อที่เป็นอัลบั้มรูปภาพ สื่อวิดีโอ ใช้ตำแหน่งสถานที่ตั้ง (GPS) ซึ่งสามารถภาพจำลองสถานที่ในมุมมอง 360 องศา โดยนำเสนอเป็น 3 ยุค ได้แก่ 1.ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2386) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เมืองเชียงราย  2.ยุคที่ 2 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5   3.ยุคที่ 3 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เชียงรายในยุคสยาม สถาปัตยกรรมโคโลเนียล, สยามโมดิร์น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม

จิดาภา หวันกะเหร็ม. (2558). การพัฒนาแผนที่แสดงจุดศึกษาธรรมชาติบนเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เขาเจดีย์ยอด จังหวัดพัทลุงและจังหวัดตรัง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จิรายุฑ ประเสริฐศรี และ คชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับเยาวชนจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารรมยสาร; 12(1): 43 – 55.

ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นครินทร์ น้ำใจดี. (2563). การสํารวจและศึกษาภาพรวมทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สําคัญในเขต เก่าเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ใน ต้องรัก จิตรบรรเทา (บ.ก.). วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (34-47). เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ยุทธภูมิ นามวงศ์, (2019). บ้านจอมพล ป. พิบูลสงคราม. [YouTube]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.youtube.com/watch?v=E6k5tN6qBzM.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2547). การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์: แนวคิด วิธีการและประสบการณ์จากจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส).

สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย. (2014). ประวัติเมืองเชียงราย [Youtube]. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565, จาก https://www.youtube. com/watch?v=4-dTS-vlKag.

อำนาจ หังษา. (2560). สื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นจริงเสริม เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

OVERBROOK HOSPITAL. (2021). นิทรรศการในช่วงครบรอบ 115ปี ของโรงพยาบาล [YouTube]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565., จาก https://www.youtube.com/watch?v=JiZPZkaUvwU

Sontichai Bavornkaisri, (2011). สารคดีประวัติเมืองเชียงราย [YouTube], สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564, จาก https://www.youtube. com/watch?v=LNcRAmmZJxE.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30