ถอดบทเรียนการร่วมสร้างห้องเรียนออนไลน์แห่งความสุขตามสไตล์ มสธ.

ผู้แต่ง

  • หัสพร ทองแดง สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

Keyword : Lesson Learned, Co-Creation, Online Classroom

บทคัดย่อ

การแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า 19 ที่มีความรุนแรงในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนทั้งโลก ด้านการศึกษาเป็นอีกด้านที่ได้รับผลกระทบทำให้เกิดรูปแบบการจัดการการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการแก้ไขสถานการณ์ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่สนใจและเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิชาด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มสธ. สู่ห้องเรียนออนไลน์แห่งความสุขตามสไตล์ มสธ. และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาร่วมสร้างห้องเรียนออนไลน์แห่งความสุขตามสไตล์ มสธ. อย่างมีประสิทธิภาพ ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพการถอดบทเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบการสนทนากลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ผลการวิจัยจะดำเนินการวิเคราะห์โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดเป็นหมวดหมู่ แล้วทำการสังเคราะห์นำเสนอออกมาเป็นการสร้างข้อสรุปตามประเด็นแนวคำถาม ผลการวิจัยพบว่า การร่วมสร้างห้องเรียนออนไลน์แห่งความสุขเพื่อให้มีประสิทธิภาพจะมีหลักสำคัญคือ 1) การสร้างการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน 2) การออกแบบรูปแบบควรมีบรรยายเนื้อหาสาระและการฝึกปฏิบัติ 3) ระบบที่ใช้ในการเรียนออนไลน์เป็นระบบที่ผู้เรียนและผู้สอนคุ้นเคย 4) การเปิดหน้ากล้องตลอดการเรียน 5) การจัดการเรียนการสอนมีความยืดหยุ่น 6) อาจารย์ผู้สอนต้องเป็นกันเอง มีเทคนิคการสอนที่ดี และ 7) การแบ่งกลุ่มย่อยในการทำกิจกรรมกลุ่มจะทำให้ผู้เรียนสนุก

Downloads

Download data is not yet available.

References

เจริญ ภู่วิจิตร์. (2560). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566 จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf

จักรกฤษณ์ โพดาพล (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วิถีที่เป็นไปทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/%202020/06/การจัดการเรียนรู้ออนไลน์-ดร.จัก%20รกฤษณ์-โพด.pdf

ภัทรภร เจนสุทธิเวชกุล และนวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2564). 7 ข้อคิด สอนออนไลน์ให้สนุก เคล็ดลับดีๆ จากอาจารย์สาธิตจุฬาฯ. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.chula.ac.th/highlight/51722/

มสธ. (2566). ปณิธานมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2566, จาก .https://www.stou.ac.th/main/symbols.html)

มสธ. (2566). สมัครเรียนกับ มสธ. :: ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้ ::. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2566, จาก .https://www.stou.ac.th/main/symbols.html)

วิชัย วงษ์ใหญ๋ และ มารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร

สิริพร อินทร์สนธ์. (2563). โควิด - 19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203 – 213.

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2558). ติดตั้งและบริหารระบบ eLearning ด้วย moodle. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.

โอภาส เกาไศยาภรณ์, วสันต์ อติศัพท์ และ อนุชิต งามขจรวิวัฒน์. (2560). การออกแบบการเรียนการสอน อีเลิร์นนิ่ง: รายการตรวจสอบ. นีโอพ้อยท์ (1995).

Catherine Bovill. (2020). Co-creation in learning and teaching: the casefor a whole-class approach in higher education. Retrieved May 14, 2023, From https://www.researchgate.net/publication/337698647_Co-creation_in_learning _and_teaching_the_case_for_a_whole-class_approach_in_higher_education

Communication Theory. (2017). BERLO’S SMCR MODEL OF COMMUNICATION. Retrieved May 14, 2023, From https://www.communicationtheory.org/berlos-smcr-model-of-communication/

Disrup. (2563). เปลี่ยนห้องเรียนสู่ออนไลน์รับมือโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.disruptignite.com/blog/online-classroom-tips

Hfocus. (กุมภาพันธ์ 12, 2020). องค์การอนามัยโลก ประกาศ ‘COVID-19’เป็นชื่อทางการไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566.จากhttps://www.hfocus.org/content/2020/02/18488

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30