การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อศตวรรษที่ 21 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
คำสำคัญ:
Learning Activities, project-based learning, Bloom’s Taxonomyบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 2) เพื่อประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 2) แบบประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยกิจกรรม 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นนำเสนอ ขั้นวางแผน ขั้นลงมือปฏิบัติ และขั้นประเมิน 2) การประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มีคุณภาพในระดับดีมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐานตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ในรายวิชาการศึกษาเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59
Downloads
References
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : แอคทีฟ พริ้นท์.
Aenderson, T.P. (1997). Using models of instruction. In C.R.Dills, & A.J.Romiszowski (Eds). Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, NJ : Educational Technology.
Arends, R.I. (1997). Classroom instruction and management. New York : McGraw Hill.
Joyce, B., and well, M. (2000). Model of teaching (6th ed.).New Jersy : Prentice Hall.
Katz, L.G., and Chard, S.C. (1998). Issues in selecting topics for projects. N.P. : Eric Digest Ed.
Kongmanus, K. (2016). Development of project-based learning model to enhance educational media business ability for undergraduate student in educational technology amd communications program. Retrieved January, 11, 2017.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว