เสียงบรรยายภาพ : บริการเพื่อการเข้าถึงของคนพิการทางการเห็น

ผู้แต่ง

  • สุปราณี ศิริสวัสดิ์ชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

Audio descriptions, Visually impaired, Media accessibility

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการเรื่อง เสียงบรรยายภาพ : บริการเพื่อการเข้าถึงของคนพิการทางการเห็น โดยผู้ศึกษามุ่งค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตเสียงบรรยายภาพ (Audio Description: AD) เพื่อศึกษาที่มา สถานการณ์ในปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเสียงบรรยายภาพ รวมทั้งเพื่อหาแนวทางการดำเนินการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพเพื่อรองรับประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับประโยชน์มากที่สุด

          จากการศึกษาพบว่าสาเหตุหลักที่สถานีโทรทัศน์หลายแห่งไม่สามารถดำเนินการตามประกาศของ กสทช. เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 3) ได้นั้น  เนื่องจากความไม่พร้อมด้านการกระบวนการผลิต งบประมาณ ความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรของสถานีโทรทัศน์ ซึ่งทาง กสทช.ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนพิการได้รับรู้และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป และสามารถนำข้อมูลข่าวสารนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตได้

The study found that the main reasons for many TV stations were not able to carry out the announcement because of the incompetence of the production process, the budget, the knowledge and expertise of the personnel of the television station which the NBTC has a guideline for solving problems to promote and support people with disabilities get to know and use of information equally as the general public and able to use that information for the benefit of living.

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://dep.go.th/images/uploads/files/situation-Dec65.pdf

ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์. (2559). The Voice of See : Audio Description in Practice เสียงบรรยายภาพ : พื้นฐาน สร้างสรรค์ การต่อยอด. สถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา.

ประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 3).

พัชรากร สมศรี. เจ้าหน้าที่พัฒนาคุณภาพเนื้อหางานแปลอาวุโสด้านการแปล องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS). สัมภาษณ์, 15 พฤศจิกายน 2562.

พีรพงศ์ จารุสาร. เลขานุการสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย. สัมภาษณ์, 8 กันยายน 2561.

ภัทธีรา สารากรบริรักษ์. (2558). เสียงบรรยายภาพที่ผู้พิการทางการเห็นต้องการ. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รมิดา จรินทรัพย์พิทักษ์. รักษาการผู้อำนวยการสำนัก สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช). สัมภาษณ์, 15 พฤศจิกายน 2562.

เสกสรร อามาตย์มนตรี. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ เรื่อง การผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. (ม.ป.ป.). มาตรฐานการให้บริการเสียงบรรยายภาพ. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562. จาก http://bcp.nbtc.go.th/th/detail/2018-07-03-11-38-08

อัญมณี เพชรมา. (2561). การผลิตเสียงบรรยายภาพด้วยระบบดิจิทัลประกอบรายการสารคดีโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางการเห็น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัฐวีย์ วงศ์บุญชัยนันท์. ผู้ผลิตรายการสื่อเสียงบรรยายภาพ. สัมภาษณ์, 9 พฤศจิกายน 2562.

อารดา ครุจิต. (2558). หลักการผลิตเสียงบรรยายภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารดา ครุจิต. (2560). โทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของคนพิการ = Television for All. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

A little happiness. (ม.ป.ป.). สารคดี : มองไม่เห็นด้วยตา แต่รับรู้ได้ด้วย “เสียงบรรยาย”. ค้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2562 จาก https://marinmans.wordpress.com/tag/

All Blind Can See. (ม.ป.ป.). รณรงค์ให้มีการสร้างเสียงบรรยายภาพในสื่อที่หลากหลายเพื่อผู้พิการทางสายตา. ค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2562. จาก https://www.change.org/p/

ITC. (2000). ITC guidance on standards of audio description. [online]. http://www.ofcom.org.uk/static/archive/itc/uploads/ITC_Guidance_On_Standards_for_Audio_ Description.doc. Retrived on 24th June 2019.

Jobthai. (2559). กุลนารี เสือโรจน์ : ผู้ช่วยเปิดโลกการรับชมโทรทัศน์ให้คนพิการทางการเห็น. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562. จาก https://blog.jobthai.com/career-tips/

Orero, P. (2007). Sampling audio description in Europe. In J.D.Cintas, P. Orero &, A. Remael (eds.) Media for All Subtilling for the Deaf, Audio Description, and Sign Language (pp.111-125). Amsterdam: Printforce.

Snyder J. (2014). The visual made verbal. American Council of the Blind. Arlington. VA. USA.

Yeung, J. (2007). Audio Description in the Chinese World. In J.D.Cintas, P. Orero &, A. Remael (eds.) Media for All Subtilling for the Deaf, Audio Description, and Sign Language (pp.231-244). Amsterdam: Printforce.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30