รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน, ศักยภาพการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวและสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คนมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับกลุ่มของประชาชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานรัฐจำนวน 13 คนมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาร่วมกับการวิเคราะห์ SWOT ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ และด้านการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แต่ด้านกิจกรรมและกระบวนการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการวิเคราะห์ SWOT ของศักยภาพการท่องเที่ยว พบว่า มีจุดแข็งคือ สภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตริมน้ำ มีการคมนาคมสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับแก่นักท่องเที่ยว ผู้นำและคนในชุมชนมีความเข้มแข็ง และผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชน จุดอ่อน คืองบประมาณของชุมชนไม่เพียงพอกับการพัฒนาภูมิทัศน์ของพื้นที่ การจัดกิจกรรมภายในตลาดน้ำยังไม่มีความต่อเนื่อง ป้ายสื่อสารข้อมูลการท่องเที่ยวไม่เพียงพอ และขาดการส่งเสริมความรู้ใหม่ให้กับผู้ประกอบการ ส่วนโอกาส คือเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก และอุปสรรค คือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจะมี 4 มิติ คือ แลมป์โมเดล (LAMP MODEL) ได้แก่ มิติภูมิทัศน์ (L : Landscape) มิติกิจกรรม (A : Activity) มิติการจัดการ (M : Management) และมิติผู้ร่วมดำเนินการ (P : Partnership)
Downloads
References
ฐิตาภา บำรุงศิลป์. (2564, พฤษภาคม - สิงหาคม). ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 3(2), น. 78-94.
ส. พลายน้อย. (2560). ชีวิตตามคลอง. กรุงเทพ : บริษัทสถาพรบุ๊คจำกัด
สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2555, มกราคม - มิถุนายน). ย่านตลิ่งชัน : ประวัติศาสตร์ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง. วารสารดำรงวิชาการ, 11(1), น. 190 – 219.
อัจริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 4.0 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกิ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555, กรกฎาคม - ธันวาคม). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), น. 17 -29
อุดม เชยกีวงศ์. (2552). ตลาดน้ำ : วิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญาสร้างสรรค์.
Bettina, T. (2014). Export Interviews and Triangulation : Foreign Policy towards America in Europe. North America Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว