การพัฒนาคู่มือเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล โรงพยาบาลรัฐในพื้นที่โครงการอีอีซี: กรณีศึกษา โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • น้ำตาล กิตติกูล Rajabhat Rajanagarindra University
  • วัชรี ปั้นนิยม

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะการฟังและการพูด, พยาบาล, อีอีซี, คู่มือภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่องานของพยาบาล และรูปแบบเนื้อหาของคู่มือเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล 2) เปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังใช้คู่มือเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม คือ พยาบาลวิชาชีพ ประจำโรงพยาบาลพุทธโสธร แผนกศัลยกรรม อายุรกรรม ผู้ป่วยนอก การพยาบาลผู้คลอด และออร์โธปิดิกส์ จำนวน 175 คน กลุ่มตัวอย่างสัมภาษณ์ คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหัวหน้าแผนกที่ศึกษา จำนวน 18 คน และกลุ่มตัวอย่างทดลองใช้คู่มือฯ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพในแผนกที่ศึกษาจำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินคุณภาพคู่มือฯ คู่มือเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาล พร้อมซีดีที่จัดทำเป็นคิวอาร์โค้ด และแบบทดสอบก่อนและหลังทดลองใช้คู่มือฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานด้วย paired sample t-test และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษในระดับมาก ( = 3.73, S.D. = 0.17) และ ( = 3.51, S.D. = 0.22) ตามลำดับ โดยหัวข้อที่ต้องการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดมากที่สุด ได้แก่ ฟังและเข้าใจข้อซักถามหรือ ความต้องการของคนไข้ ฟังและเข้าใจประวัติและอาการของคนไข้ และพูดซักประวัติและสอบถามอาการ จากการสัมภาษณ์พบว่าปัญหาการฟังและการพูดที่สำคัญและมีการกล่าวถึงมากที่สุด ได้แก่ การพูดเป็นคำ ไม่สามารถเรียบเรียงเป็นประโยค ไม่คุ้นเคยกับสำเนียงและภาษาถิ่นของคนไข้ชาวต่างชาติ ข้อจำกัดด้านคำศัพท์ และไม่ค่อยได้ใช้ภาษาอังกฤษ

          จากการบันทึกผลการใช้คู่มือเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับพยาบาลพร้อมซีดี พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อรูปแบบ เนื้อหาและการใช้ภาษาของคู่มือฯ และหลังทดลองใช้คู่มือฯ พัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบหลังใช้คู่มือฯ สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ. 2560 – 2569). กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และธัญภา ชิระมณี. (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย. สืบค้นจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/hmp39.pdf

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2562). ทำไมต้องอีอีซี – โครงสร้างพื้นฐาน – รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/th/high-speed-rail-connecting-3-airports

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2562). อีอีซี – ความเป็นมาของอีอีซี. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/th/government- initiative

อดิศักดิ์ ย่อมเยาว์. (2560). ปัญหาการใช้ทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดกลางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 23 (2), 56 – 66.

อำพิกา สวัสดิ์วงศ์. (2565). การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจภาคตะวันออก พ.ศ .2525-2560: จาก ESB มุ่งสู่ EEC. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(3), 30-36

Basturkmen, H. (2010). Developing Courses in English for Specific Purposes. Great Britain: Palgrave Macmillan.

Carey, M., D. (2002). An L1-specific CALL pedagogy for the instruction of pronunciation with Korean learners of English. (Doctoral dissertation). Sydney, NSW: Macquarie University.

Chetsadanuwat, K. (2018). Needs of English Skills of Thai Nurses Working in International Hospitals Accredited by JCI in Bangkok Area. LEARN Journal, 11(1), 26 – 46.

Harsono, Y. M. (2007). Developing learning materials for specific purposes. TEFLIN Journal, 18(2), 169-179.

Krejcie, V.R. & Morgan, W.D. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607- 610.

Richards, J. (2006). Communicative Language Teaching Today. New York: Cambridge University Press.

Theeartsana, P. (2017). English Language Needs Analysis of Thai Nurses at a Public Hospital in Bangkok. (Independent Study: Master of Arts in English Language Teaching). Bangkok: Thammasat University.

Ur, P. (1984). Teaching Listening Comprehension. Cambridge: Cambridge University Press.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19