ประสิทธิภาพของวิธีการสกัดโดยคลื่นอัลตราโซนิคต่อปริมาณคาเฟอีนและฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียจากกากกาแฟ
คำสำคัญ:
กากกาแฟ, การสกัดด้วยคลื่นอัลตราโซนิค, คาเฟอีน, ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียบทคัดย่อ
กากกาแฟเป็นวัสดุเศษเหลือจากธุรกิจกาแฟสด มีแนวคิดนำกากกาแฟไปใช้ประโยชน์เนื่องจากประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์ชีวภาพหลายชนิด วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือศึกษาการสกัดสารจากกากกาแฟด้วยคลื่นอัลตราโซนิคร่วมกับตัวทำละลายคือเอทานอล เอทานอลเข้มข้น 70% และไดคลอโรมีเทน ระยะเวลาการสกัด 20 นาที หาปริมาณคาเฟอีนและทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัด พบว่าการสกัดด้วยเอทานอล เอทานอลเข้มข้น 70% และไดคลอโรมีเทนได้ร้อยละผลผลิตของสารสกัดเท่ากับ 11.4 4.8 และ12.4 ตามลำดับ สารสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 70% มีปริมาณคาเฟอีนสูงที่สุดเท่ากับ 416.9 ppm และมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli Staphylococcus aureus และ Staphylococcus epidermidis ได้มากที่สุด รองลงมาคือเอทานอลและไดคลอโรมีเทน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้คลื่นอัลตราโซนิคร่วมกับตัวทำละลายในการสกัดสารจากกากกาแฟซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือได้รวดเร็วและสารสกัดจากกากกาแฟมีประสิทธิภาพสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้
Downloads
References
นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล และพัชรี ปรีดาสุริยะชัย. (2558). การศึกษากากกาแฟและกากชามาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 7(13), 15-26.
พัชนี สุวรรณวิศลกิจ. (2542). กาแฟสกัดคาเฟอีน. วารสารเกษตร, 15(1), 1-10.
พัทธชัย ปิ่นนาค, ธัญญ์นรี จิณะไชย, สุพิชญา เกษร และอาลิตา มาคูณ. (2563). ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเปลือกกาแฟเชอร์รี่และดอกกาแฟในระบบวนเกษตรของจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 1, 61-70.
มณฑล์กาญจน์ โพธิ์ดำกล่ำ. (2560). เทียนอโรมาจากกากกาแฟ. (ปริญญาตรี), มหาวิทยาลัยสยาม, คณะศิลปศาสตร์.
รพีพรรณ กองตูม. (2560). กากกาแฟ: มูลค่าเพิ่มและการใช้ประโยชน์ (Spent Coffee Grounds: A Value Added and Utilization). การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 5. หน้าที่ 342-350. มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง, ราชบุรี.
สุทธิเดช ปรีชารัมย์, ธวัชชัย เจริญสุข, อรวรรณ ชุณหชาติ และมลธิรา ศรีถาวร. (2559). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากกากกาแฟ. การประชุมวิชาการระดับชาตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 13. หน้าที่ 1623-1629. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
อรณิชา ครองยุติ และสุภัสสร วันสุทะ. (2566). ผลของสารสกัดกากกาแฟต่อการต้านอนุมูลอิสระ การยับยั้งการทำงานของแอลฟาอะไมเลสและไลเปสและการยับยั้งกระบวนการสร้างเซลล์ไขมัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 25(1), 62-71.
อารยา ข้อค้า. (2020). ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย. Journal of Medicine and Health Sciences, 27(2), 125-139.
Ahmad B., Showkat F., Sim S., Mohamad I., & Mohamad N. (2015). Spectrophotometric Analysis of Caffeine. International Journal of Analytical Chemistry, 2015, 1-7. Retrieved from https://doi.org/10.1155/2015/170239
Ballesteros, L. F., Teixeira, J. A., & Mussatto, S. I. (2014). Chemical, Functional, and Structural Properties of Spent Coffee Grounds and Coffee Silverskin. Food and Bioprocess Technology, 7(12), 3493-3503. Retrieved from https://doi:10. 1007/s11947-014-1349-z
Cheok, C. Y., Chin, N. L., Yusof, Y. A., Talib, R. A., & Law, C. L. (2013). Optimization of total monomeric anthocyanin (TMA) and total phenolic content (TPC) extractions from mangosteen (Garcinia mangostana Linn.) hull using ultrasonic treatments. Industrial Crops and Products. 50, 1-7. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.indcrop.2013.07.024
Dash, S.S., & Gummadi, S.N. (2008). Inhibitory Effect of Caffeine on Growth of Various Bacterial Strains. Research Journal of Microbiology, 3(6), 457-465.
Dussault, D., Vu, K. D., & Lacroix, M. (2014). In vitro evaluation of antimicrobial activities of various commercial essential oils, oleoresin and pure compounds against food pathogens and application in ham. Meat Science. 96(1), 514-520.
Insuan, W., Hansupalak, N., & Chahomchuen, T. (2022). Extraction of curcumin from turmeric by ultrasonic-assisted extraction, identification, and evaluation of the biological activity. Journal of Herbmed Pharmacology, 11(2), 188-196. Retrieved from https://doi:10.34172/jhp.2022.23
Namfon, S., & Rungsinee, S. (2021). Physicochemical, functional properties and antioxidant activity of protein extract from spent coffee grounds using ultrasonic-assisted extraction. AIMS Agriculture and Food, 6(3), 864–878.
Pujol, D., Liu, C., Gominho, J., Olivella, M. À., Fiol, N., Villaescusa, I., & Pereira, H. (2013). The chemical composition of exhausted coffee waste. Industrial Crops and Products, 50, 423-429. Retrieved from https://doi.org/10.1016/ j.indcrop. 2013. 07.056
Wald-Dickler, N., Holtom, P., & Spellberg, B. (2018). Busting the Myth of "Static vs Cidal": A Systemic Literature Review. Clin Infect Dis, 66(9), 1470-1474. Retrieved from doi:10.1093/cid/cix1127
Wipawan, N., Bussaba, P., & Wancheng, S. (2019). Extraction of Active Compounds from
Thai Herbs: Powder and Extract. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok. 29(1), 157-166.
Zengin, G., Sinan, K. I., Mahomoodally, M. F., Angeloni, S., Mustafa, A. M., Vittori, S., Filippo, M., & Caprioli, G. (2020). Chemical Composition, Antioxidant and Enzyme Inhibitory Properties of Different Extracts Obtained from Spent Coffee Ground and Coffee Silverskin. Foods, 9(6), 713. Retrieved from https://doi.org/10.3390/foods9060713
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว