ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดตำรับยาห้าราก มะขาม และข่า

ผู้แต่ง

  • อาวุธ หงษ์ศิริ -
  • อัจฉรา แก้วน้อย
  • อ้อมบุญ วัลลิสุต
  • อินทัช ศักดิ์ภักดีเจริญ

คำสำคัญ:

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, สารประกอบฟีนอลิกรวม, สารประกอบฟลาโวนอยด์รวม

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบและทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดตำรับยาห้าราก มะขาม และข่า ด้วยตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 95 รวมทั้งวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบ  ฟีนอลิกรวม และสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม จากนั้นนำสารสกัดมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ และการยับยั้งการอักเสบโดยการวัดปริมาณไนตริกออกไซด์ที่สร้างจากเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยลิโปโพลีแซคคาไรด์ (LPS) ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl radial scavenging capacity assay (DPPH Assay) วิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin Ciocalteu reagent method และปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมโดยใช้วิธีอลูมิเนียมคลอไรด์

ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดข่าแสดงฤทธิ์ในการต้านการอักเสบมากที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 9.31±0.67 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร  และมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 26.20±0.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และยังพบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และสารประกอบฟลาโวนอยด์รวมสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 442.03±0.01 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัด และ 198.44±0.67 มิลลิกรัมเควอซิทินเทียบเท่าต่อกรัมสารสกัด  ตามลำดับ ดังนั้นสารสกัดข่า มีศักยภาพในการนำมาศึกษาวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อระงับการอักเสบและทดสอบประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

พัชราภรณ์ พร้อมอมร และนฤมล รัชรินทร์. (2559). การประเมินฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและการพัฒนาสูตรเจล จากสารสกัด Terminalia chebula Retz. วารสารวิจัย SDU วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(1): 51-63.

วิยดา กวานเหียน และกิ่งกาญจน์ บันลือพืช. (2561). ความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาห้ารากที่สกัดด้วยน้ำ. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 37(พิเศษ): 27-38

ศิริพร แย้มมูลและคณะ. (2561). ประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี, 1(1) :16-27

ปิยะพล พูลสุข และคณะ. (2561). ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่า ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 18 (1)

Chudiwal AK, Jain DP, Somani RS. (2010). Alpinia galanga Willd.– An overview on phyto -pharmacological properties. Indian J Nat Prod Resour. 1(2), 143-149.

Juckmeta T, Itharat A. (2012). Anti-inflammatory and antioxidant activities of Thai traditional remedy called “Ya-ha-rak”. J Health Res. 26(4), 205-210.

Tungmunnithum D, Tawaka N. Uehara A. Iwashina T. (2020). Flavonoids profile, taxonomic datd, history of cosmetic uses, anti-oxidant and anti-aging potential of Alpinia galanga (L.) Willd. Cosmetics, 7(4), 89

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19