ผลของความเข้มข้นน้ำใบย่านางสกัดต่อสมบัติวุ้นกรอบ

ผู้แต่ง

  • น้ำฝน ชูพูล Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Srivijaya
  • รุ่งทิพย์ รัตนพล
  • จิราภรณ์ ตันติพงศ์อาภา
  • เดชศักดิ์ วิจิตต์พันธ์
  • วรรณนิสา เภาพันธ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, วุ้นกรอบ, น้ำใบย่านาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบน้ำใบย่านาง โดยทำการศึกษาความเข้มข้นของน้ำใบย่านางสกัดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบ ในอัตราส่วน 1:6, 1:9 และ 1:12 (%/w/v) ของอัตราส่วนใบย่านางต่อน้ำ จากผลการศึกษา พบว่า ความเข้มข้นของน้ำใบย่านางที่ลดลงจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบมีค่าความสว่าง (L*) ลดลง  แต่มีค่าความเป็นสีแดง (a*) และค่าความเป็นสีเหลือง (b*) เพิ่มขึ้น และมีค่าความชื้นร้อยละ 1.73 - 1.80 ขณะที่ปริมาณน้ำอิสระ (aw) จะมีค่าอยู่ในช่วง 0.73 - 0.77 คุณภาพด้านเนื้อสัมผัส พบว่า ค่าความแน่นเนื้อและค่าความยืดหยุ่นของผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบน้ำใบย่านางมีความแตกต่างกัน เมื่อความเข้มข้นของน้ำใบย่านางลดลงจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบมีค่าความแน่นเนื้อและค่าความยืดหยุ่นลดลง จากผลการประเมินทางประสาทสัมผัสด้วยวิธีให้การคะแนนความชอบ 9 ระดับ (9-point hedonic scale) กับผู้ทดสอบชิมที่ไม่ผ่านการฝึกฝน 40 คน พบว่า ผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบน้ำใบย่านางที่มีความเข้มข้นของน้ำใบย่านางสกัด 1:9 (%/w/v) มีคะแนนความชอบในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมสูงกว่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบน้ำใบย่านางที่ระดับความเข้มข้นอื่น ๆ อยู่ในเกณฑ์ชอบมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกทิพย์ ศรีสุภักดิ์ และเสาวลักษณ์ เงินเย็น. (2553). การศึกษาปริมาณซัคคารินที่เหมาะสมในการผลิตวุ้นสวรรค์. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 5(1)

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). ย่านางอาหารที่เป็นยา. สืบค้น มิถุนายน 14, 2565 จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th

ธัญชนก ศรียานน. (2561). วุ้นกรอบ. สืบค้น มิถุนายน 23, 2565 จาก https://krua.co/recipe/

ป้ามารายห์. (2562). วุ้นกรอบสูตรขนมไทยสีสวยกรอบหนึบแค่มีแดดก็ทำได้. สืบค้น มิถุนายน 23, 2565 จาก https://cooking.kapook.com/view209355.html

ศุภชัย ภูลายดอกและคณะ. (2565). วิธีการสกัดที่มีผลต่อคุณภาพย่านาง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 14(3), 722-730.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2559). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนวุ้นกรอบ (มผช. 1221/2559). สืบค้น มิถุนายน 28, 2565 จาก http://www.sptn.dss.go.th

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). บทบาทของน้ำในอาหาร. สืบค้น กรกฎาคม 5, 2566 จาก https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7185-food-chemistry

สุนีย์ เอียดมุสิก และณัฐธยาน์ ชูสุข. (2558). โครงการวิจัย เรื่อง ผลของกระบวนการเตรียมผลิตหน่อไม้บรรจุกระป๋องต่อคุณภาพน้ำใบย่านาง. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ

สุรชัย เพชรนาดี. (2558). วิธีทำวุ้นกรอบ. สืบค้น มิถุนายน 23, 2565 จาก https://sites.google.com/site/wunkrxb/withi-kar-tha-wun-krxb

อบเชย วงศ์ทอง และขนิษฐา พูนผลกุล. (2559). หลักการประกอบอาหาร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อินท์ธีมา หิรัญอัครวงศ์ และวรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์. (2558). การใช้ประโยชน์จากน้ำตาลสดในผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบ. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(2), 109 - 119.

AOAC. (1999). Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical Chemistry. AOAC: Washington DC.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19