การศึกษาและเปรียบเทียบคุณสมบัติของเนื้อดินปั้นจากหลายแหล่ง เพื่อผลิตเป็นกระถางเซรามิก

ผู้แต่ง

  • นันทนัช วัฒนสุภิญโญ bansomdejchaopraya rajabhat university
  • นิติพร ถิ่นพิบูลย์
  • จิราภรณ์ พรหมเจริญ

คำสำคัญ:

เนื้อดินปั้น , กระถางเซรามิก , ดินปากเกร็ด, ดินเชียงราย , ดินเซลาดอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินปั้นจากหลายแหล่งเพื่อผลิตเป็นกระถางเซรามิก โดยการนำแหล่งดินปั้นเซรามิกทั้ง 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งดินเชียงราย ดินเซลาดอน และดินปากเกร็ด เผาที่อุณหภูมิ 1,000 1,100 และ1,200 องศาเซลเซียส (การเผาไหม้แบบสมบูรณ์) ซึ่งจะมีการควบคุมเวลา 6 ชั่วโมง 30 นาที ในแต่ละอุณหภูมิในการเผา ผลการวิจัย พบว่า สีและลักษณะภายนอกของเนื้อดินหลังการเผาของดินเชียงราย และดินเซลาดอน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิในการเผาจะมีสีของดินหลังการเผาที่อ่อนลง แต่แหล่งดินปากเกร็ด เมื่อเพิ่มอุณหภูมิในการเผาจะมีสีของดินหลังการเผาที่เข้มขึ้น ซึ่งในส่วนของลักษณะภายนอกของดินเชียงรายมีความขรุขระเล็กน้อย มีรอยแตกร้าวในเนื้อดิน มีการโก่งงอเล็กน้อย และลักษณะภายนอกของดินเซลาดอนจะมีความเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกร้าว ไม่มีการโก่งงอ และในแหล่งดินปากเกร็ดลักษณะภายนอกของเนื้อดินค่อนข้างเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกร้าว แต่มีการโก่งงอเล็กน้อย การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพด้านการดูดซึมน้ำ พบว่าแหล่งดินเซลาดอน เผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส มีร้อยละการดูดซึมน้ำร้อยละ 7.43 เหมาะสมกับการนำไปผลิตเป็นกระถางเซรามิก และการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพด้านการหดตัว พบว่าแหล่งดินเซลาดอน เผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส มีร้อยละการหดตัว ร้อยละ 3.54 เหมาะสมกับการนำไปผลิตเป็นกระถางเซรามิก

Downloads

Download data is not yet available.

References

เตือนใจ ปิยัง วรรณวิภา ไชยชาญ และกัตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์. (2561). การผลิตกระถางต้นไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากกากตะกอนน้ำมันปาล์ม และวัสดุเหลือทิ้งจากการเพาะเห็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(3), 497-511.

บริษัทเซรามิค เอส.ที.ซี. จำกัด, (2566). ผลิตภัณฑ์เซรามิก. สืบค้น 1/1/2566. https://www.ceramicstc.co.th/.

ธิติมา คุณยศยิ่ง. (2556). การทดลองเนื้อดินเพื่อทำเซรามิกหอม โดยใช้กากดินขาวทดแทนทราย. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 1-12.

วสันต์ ธีระพิทยานนท์. (2545). ตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของดินเพอใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก. วารสารกรมวิทยาศาสตร์, 50(160), 24-27.

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก. สืบค้น 28/1/2565. https://shorturl.asia/uzRkL.

สมศักดิ์ ชวาลาวัณย์. (2541). เซรามิกส์เบื้องต้น. ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19