ผลของฤดูกาลและแหล่งกำเนิดน้ำเสียต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ภรต สุภางค์ยุทธ -
  • อรอนงค์ ผิวนิล
  • วัชรพงษ์ วาระรัมย์
  • ธนิศร์ ปัทมพิฑูร
  • นพวรรณ เสมวิมล
  • จุลบุตร จันทร์สูรย์
  • ภาวิน วิจิตรตระการ

คำสำคัญ:

แหล่งกำเนิดน้ำเสีย, การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล, คุณภาพน้ำ, ;แม่น้ำเพชรบุรี

บทคัดย่อ

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของฤดูกาลที่มีผลต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี โดย วิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำทางกายภาพ เคมี และทางชีวภาพ โดยกำหนดจุดเก็บตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของแหล่งกำเนิดน้ำเสียตลอดแนวลำน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี ได้แก่ แหล่งเกษตรกรรม แหล่งชุมชน แหล่งประมง และแหล่งเหมืองแร่ จำนวนรวม 39 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าผลของฤดูน้ำหลากและฤดูน้ำแล้งมีผลต่อค่าความนำไฟฟ้า(EC) ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด(SS) ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด(TDS) ของแข็งทั้งหมด (TS)  ความเป็นกรด-ด่าง(pH) ความสกปรกในรูปบีโอดี(BOD) แอมโมเนีย(NH3) ออร์โธฟอสเฟต (PO43-) ความเค็ม (Salinity) โคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด(TCB) ฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (FCB) และอีโคไลต์ (E. Coli) ในฤดูน้ำหลากและฤดูน้ำแล้งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กิจกรรมจากการประมงเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีผลต่อคุณภาพน้ำมากที่สุด ส่วนพื้นที่แหล่งเกษตรกรรม แหล่งชุมชน และแหล่งเหมืองแร่ มีปริมาณธาตุ และปริมาณแบคทีเรียปนเปื้อนในน้ำปริมาณสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้งซึ่งไม่มีอิทธิพลจากการเจือจางด้วยปริมาณน้ำที่มีจำนวนมากในแม่น้ำเพชรบุรี  ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลสำคัญต่อการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำแม่น้ำเพชรบุรีให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินที่มิใช่ทะเล และใช้ประโยชน์เพื่อการรักษาระบบนิเวศแหล่งน้ำให้มีความยั่งยืนของแม่น้ำเพชรบุรีต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมทรัพยากรน้ำ. 2551. รายงานสถานการณ์น้ำ ใน 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย. กรุงเทพฯ. :

กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

American Public Health Association, American Water Works Association and Water

Environment Federation. 1995. Standard Method for the Examination of Water

and Wastewater. 19 th ed. America Public Health Association, Washington, DC.

ASRININGTYAS V. 2005.Seasonal water flow trends in conjunction with phytoplankton

biovolume in Phetchaburi River, Thailand. Journal of scientific research

Chulalongkorn University, 2005, 30: 161-178.

Clausen, J. C., & Meals, D. W. (1989). Water quality achievable with agriculture best

management practices. Journal of Soil and Water Conservation, 44, 593-596.

Chalatip J. 2006. Study on water and bottom sediment properties for evaluation on

enrichment and pollution status of Bangpakong River in Ban Pho district,

Chachoengsao province, Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

Duangsawat, M. & Somsiri, J. (1985). Water Properties and Analytical Methods for

Fisheries Research. Bangkok: Department of Fisheries. (in Thai)

Fisher, D. S., Steiner, J. L., Wilkinson, S. R. (2000). The relationship of land use practices

to Surface water quality in the Upper Oconee Watershed of Georgia. Forest

Ecology and Management.

Holden, W.S. 1970. Water Treatment and Examination. William and Wilkin Co. Ltd,

PULLANIKKATIL, D.; PALAMULENI, L. G.; RUHIIGA, T. M. Impact of land use on water

quality in the Likangala catchment, southern Malawi. African journal of aquatic

science, 2015, 40.3: 277-286.

Padungkiet U.1998. Potential of Petchaburi River for absorption of overflow from

municipal wastewater collecting system, Changwat Petchaburi. Bangkok:

Kasetsart University. (in Thai)

Orapin, P. 1992. Fluctuation of some water quality of Mae Moei river basin at Changwat

Tak. Kasetsart University. Thailand

Onanong P. 2013. Medical Microbiology:: Pathogenic bacteria. Charansanitwong

Printing. Bangkok, Thailand

Pollution Control Department. (2001). Quality Control of Test Results for Laboratories.

Retrieved from http://pcd.go.th/count/waterdl.cfm?FileName=control_sea.pdf,

July 7, 2021. (in Thai)

Xian, G., Crane, M., &. Su, J. (2007). Analysis of urban development and its

environmental impact on the Tampa Bay watershed. Journal of Environmental

Management, 85, 965–976.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19