ผลกระทบต่อคุณภาพข่าวและคุณค่าข่าวของสื่อมวลชนไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ศรีหิรัญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
  • กฤษณะ เชื้อชัยนาท
  • ประพจน์ ณ บางช้าง
  • สุวิมล อาภาผล

คำสำคัญ:

คุณภาพข่าว, คุณค่าข่าว, สื่อมวลชน, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อคุณภาพข่าวและคุณค่าข่าวของสื่อมวลชนไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักวิชาการและนักวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์รวมทั้งประชาชนผู้บริโภคข่าว จำนวน 32 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าโควิดส่งผลกระทบต่อคุณภาพข่าวฯ ในเชิงบวกคือ ข่าวต้องมีคุณภาพข่าวที่มากขึ้นกว่าช่วงปกติ โดยเฉพาะความถูกต้องครบถ้วนและแม่นยำ, ส่งผลกระทบเชิงลบคือ กระทบต่อความสมดุลและเที่ยงธรรมในการนำเสนอข่าวจากผลประโยชน์ทางธุรกิจทำให้เกิดการให้ข้อมูลเพียงแค่ด้านเดียวไปบ้าง และส่งผลกระทบโดยภาพรวมฯคือ สื่อมวลชนยังไม่สามารถนำเสนอข่าวที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย เพราะสื่อยังไม่สามารถทำความเข้าใจกับประเด็นที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนในเรื่องโควิดได้อย่างชัดเจน (2) ผลกระทบต่อคุณค่าข่าวฯ ส่วนใหญ่มองว่าในเชิงบวกคือ สื่อมักเน้นด้านความเจริญก้าวหน้ามากกว่าในช่วงปกติที่ไม่มีโรคระบาด โดยเฉพาะการผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันและระงับความรุนแรงจากโรคระบาดนี้, เชิงลบคือ เน้นเรื่องสะเทือนอารมณ์โดยมีการเน้นดราม่ามากกว่าปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อสร้างจุดขายต้องการขายข่าว และผลกระทบโดยภาพรวมคือ ไม่ส่งผลต่อคุณค่าข่าวมากนัก ข่าวส่วนใหญ่ยังเน้นคุณค่าด้านความทันเหตุการณ์เป็นหลัก โดยหากจะมีส่งผลอยู่บ้างคือจะเน้นคุณค่าด้านผลกระทบของโรคระบาดนี้ต่อสุขภาพและชีวิตของผู้คนมากกว่าในช่วงเวลาปกติ ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า สื่อควรเป็นทั้ง“นักวารสารศาสตร์”และ “นักสร้างสรรค์เนื้อหา”ในเวลาเดียวกัน และมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าข่าวต้องมีคุณภาพข่าวและคุณค่าข่าวที่เน้นการประยุกต์ใช้ได้จริง ไม่ใช่เน้นนำเสนอความรู้สำเร็จรูปที่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน

Downloads

Download data is not yet available.

References

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2564). โควิด 19 กับการรู้เท่าทันการแพร่ระบาดของข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ ใน

วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564.

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (2564). ในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น เราอยากให้

สื่อมวลชนนำเสนออะไร. กรุงเทพฯ : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

ดรุณี หิรัญรักษ์.(2538). เทคนิคการหาข่าวและการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชน : กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ :ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.มาลี บุญศิริพันธ์. (2550). วารสารศาสตร์เบื้องต้น ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สามลดา. วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2564). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา JRC1202 การสื่อข่าว

และการเขียนข่าว. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

_________. (2560). คุณค่าข่าวของสื่อมวลชนไทยในยุควารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์. รายงานการวิจัย.

กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2559). หลักนิเทศศาสตร์. เอกสารคำสอน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนสุนันทา.

สุภาพร ศรีมหาวงศ์. (2561). การตรวจสอบข่าวลวงของสื่อมวลชนไทยในยุคดิจิทัล. ปริญญานิเทศศาสตร-

มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุนันทา แย้มทัพ.(2564).คุณค่าข่าวในวารสารศาสตร์ดิจิทัลศตวรรษที่ 21. ใน วารสารการสื่อสารมวลชน. คณะ

การสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ.(2545). การสื่อข่าว : หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Information is Beautiful. (2021). COVID-19 Coronavirus Database. Retrieved October 21, 2021

From https://informationisbeautiful.net/visualizations/covid-19-coronavirus-infographic-

datapack/

Itule, Bruce D. and Anderson Douglas.(1994). A News Writing and Reporting for Today’s

Media.(third edition). McGraw-Hill: Singapore.

McQuail, D. (2000). Mass Communication Theory. Sage Publications: London UK.

_________ (1987). Mass Communication Theory (4th ed.). London : Sage Publication.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19