แนวทางการปรับปรุงอาคารสำนักงานตามเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน กรณีศึกษาอาคารสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
อาคารประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์พลังงาน, กรอบอาคารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของกรอบอาคารสำนักงานในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของอาคารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของอาคารประเภทสำนักงาน ที่มีพื้นที่ใช้สอยรวม 3,400 ตารางเมตร แบ่งเป็น พื้นที่ปรับอากาศ 2,080 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 61.2 และพื้นที่ไม่ปรับอากาศ 1,320 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 38.8 ของพื้นที่ชั้น โดยรวบรวมข้อมูลวัสดุกรอบอาคาร เช่น ผนังทึบ ผนังโปร่งแสงและหลังคารวมถึงการใช้พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงานเท่านั้น และวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารก่อนการปรับปรุงด้วยโปรแกรม Building Energy Code software version 1.0.6 (BEC v.1.0.6) จากนั้นวิเคราะห์หาแนวทางการปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคาร เช่น ผนังทึบ ผนังโปร่งแสง เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าการถ่ายเทความร้อนของอาคารโดยเทียบกับค่าก่อนการปรับปรุงและหลังปรับปรุงโดยมีระยะเวลาคืนทุนที่เหมาะสม
ผลวิจัยค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของอาคารพบว่า ค่า OTTV ก่อนปรับปรุงเท่ากับ 62.578 วัตต์/ตร.
ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้ไม่เกิน 50 วัตต์/ตร.ม. และในส่วนของหลังคา ค่า RTTV ก่อนปรับปรุงเท่ากับ 27.327 วัตต์/ตร.ม. ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้ไม่เกิน 10 วัตต์/ตร.ม. จึงกำหนดแนวทางการปรับปรุง แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1) แนวทางการปรับปรุงกรอบอาคารใช้วิธีการปรับปรุงผนังทึบ โดยติดตั้งวัสดุดั้งเดิมเว้นช่องว่างอากาศ 9 ซม.
และเสริมแผ่นโพลีเอสทีรีนความหนาแน่น 24 ความหนา 25 มม. และปิดทับด้วยแผ่นยิปซั่มความหนา 9 มม.
2) แนวทางการปรับปรุงกรอบอาคารส่วนผนังโปร่งแสง โดยการเปลี่ยนกระจกโฟลตใสเป็นกระจกโฟลตสีเขียว สามารถลดค่า OTTV ลงเหลือ 42.471 วัตต์/ตร.ม. และ 3) การปรับปรุงหลังคาโดยใช้วิธีการปูฉนวนใยแก้วแบบม้วนความหนาแน่น 12 กก./ลบ.ม. หนา 75 มม. และหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์เหนือฝ้าเพดานชั้น 9 สามารถลดค่า RTTV ลงเหลือ 6.956 วัตต์/ตร.ม. จากแนวทางการปรับปรุงผนังทึบแสงและโปร่งแสงร่วมกับการปรับปรุงหลังคาที่นำวิเคราะห์นี้เป็นแนวทางที่มีระยะเวลาคืนทุนสั้นที่สุด สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 15,058.38 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี คิดเป็นเงิน 72,129.64 บาทต่อปี ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 431,274.03 บาท โดยมีระยะเวลาคืนทุนที่ 5.98 ปี
Downloads
References
ประกาศกระทรวงพลังงาน. เรื่อง กำหนดค่ามาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2564 (พ.ศ. 2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 315 ง หน้า 2. 24 ธันวาคม 2564.
กระทรวงพลังงาน. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (พ.ศ. 2550). ราชกิจจานุเบกษา . เล่มที่ 124 ตอนที่ 87 ก หน้า 1. 4 ธันวาคม 2550.
กฎกระทรวง. กำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลัก เกณฑ์ และวิธีในการ ออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ.2563 (พ.ศ.2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 94 ก หน้า7. 12 พฤศจิกายน 2563
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2565). “มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ” ที่ นร 0505/ว 137. ลงวันที่ 24 มีนาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.eppo.go.th/index.php/th/graph-analysis/item/17927-news-230365-01. เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566
การไฟฟ้านครหลวง. อัตราค่าไฟฟ้าประเภทต่างๆ ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร. เข้าถึงได้จาก https://www.mea.or.th/profile/109/259. เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566
ศรัณย์ ตันรัตนาวงศ์ และ ธนิต จินดาวณิค(2562). การปรับปรุงอาคารสู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ กรณีศึกษาแบบมาตรฐานอาคารสำนักงานราชการ. วิทยานิพนธ์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสาร สาระศาสตร์ฉบับที่ 4/2562. หน้า 523
นายวัศพล ธีรวนพันธุ์(2558). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารเรียน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสภาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นางสาวโสพิศ ชัยชนะ (2558). แนวทางการปรับปรุงอาคารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อประหยัดพลังงาน. วิทยานิพนธ์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) Vol. 9 No. 1 (2016). หน้า 1703-1716
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว