การพัฒนามาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู, ภาวะหมดไฟในการทำงาน, คุณภาพของมาตรวัดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู และตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 600 คน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) การพัฒนามาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูที่สร้างขึ้นจากแนวคิดของมาร์ชแลช และแจคสัน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ ครอบคลุมพฤติกรรมที่แสดงออก 3 ด้าน คือ ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านการสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน 2) การตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู ด้านความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก และความเที่ยง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ จำนวน 32 ข้อ 2) ด้านการสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล จำนวน 46 ข้อ 3) ด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน จำนวน 22 ข้อ 2. มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา ทุกข้อมีค่าเท่ากับ 1.0 และดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .91 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .47 - .78 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .99 ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 ด้านการสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 ด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตนมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 แสดงว่ามาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้วัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูได้เป็นอย่างดี
Downloads
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562, 23 ตุลาคม). ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome). https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2270
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563, 4 กุมภาพันธ์). Burnout in the city งานวิจัยชี้ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟ. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30176
พรรณพร กะตะจิตต์. (2562, 18 พฤศจิกายน). WHO ประกาศภาวะหมดไฟเป็นความผิดปกติ. https://www.scimath.org/article-biology/item/10629-who
วรางคณา พนาสัณท์. (2561). ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนเรียนร่วมเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชตภาคย์, 12(27), 141-151.
ศรีสกุล เฉียบแหลม. (2562). ภาวะหมดไฟในการทำงาน. วารสาร Royal Thai Air Force Medical Gazette, 65(2), 44-52.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการบริหารศึกษา. (2551). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปี ของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-2551). วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2556, 16 มกราคม). เปิด 6 อุปสรรคการทำงานของครูไทย. http://isranews.org/content-page/item/18823-เปิด6อุปสรรคการทำงานของครูไทย-sp-1628907973.html
Chen, C. F. & Kao, Y. L. (2011). Investigating the antecedents and consequences of burnout and isolation among flight attendants. Tourism Management, 33(4), 868-874.
Friedman, I. A. (2003). Self-Efficacy and Burnout in Teaching: The Importance of Interpersonal-Relations Efficacy. Social Psychology of Education, 6(3), 191-215. https://doi.org/10.1023/A:1024723124467
Maslach, C., & Jackson, S. E. (1986). Maslach Burnout Inventory manual. 2nd ed. Consulting Psychologists Press.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2007). The content validity index: are you sure you know what's being reported? critique and recommendations. Research in Nursing & Health, 29(5), 489-497.
Prasojo, L. D. (2020). Teachers’ burnout: A SEM analysis in an Asian context. Heliyon, 6(1). https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2019.e03144
Reynolds, C. R., & Livingston, R. B. (2012). Mastering Modern Psychological Testing: Theory and Methods. Pearson.
Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A Beginners Guide to Structural Equation Modeling. Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว