สถานภาพการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ ปรีชากร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • คณกร สว่างเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พงศ์ หรดาล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชไมภัค ไม้กลัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

โครงงานเป็นฐาน, ทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์, กิจกรรม (One class - One project)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (2556-2566) เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี โดยใช้ระเบียบวิจัยในขั้นตอนแรกดังนี้ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยมีขอบข่ายในประเด็นที่เกี่ยวข้อง 6 ประเด็นคือ 1. ด้านการบริหารจัดการที่สนับสนุนการเรียนการสอน 2. ด้านรูปแบบหลักสูตร 3. ด้านรูปแบบการเรียนการสอน 4. ด้านการวัดและการประเมินผล 5. ด้านการพัฒนาผู้สอนและผู้เรียน และ 6. ด้านสื่อหรือเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนการสอน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เพื่อเป็นตรวจสอบและยืนยันข้อมูลผ่านผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 ท่าน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และใช้เทคนิค Snowball เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามปลายปิดชนิดประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาในเชิงคุณภาพ และการใช้สถิติวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน และขอบเขตพิสัยระหว่างควอไทล์ ในเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทยมีประเด็นนำมาพิจารณา 6 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการที่สนับสนุนการเรียนการสอน ด้านรูปแบบหลักสูตร ด้านรูปแบบการเรียนการสอน ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านการพัฒนาผู้สอนและผู้เรียน และด้านสื่อหรือเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนการสอน พบว่าแต่ละด้านมีสิ่งที่ต้องร่วมกันพัฒนาและแก้ไขต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลุ่มนโยบายและแผนการศึกษามหภาค สำนักนโยบายและแผนการศึกษา และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วิภาดา มุกดาและคณะ. (2566). การศึกษาระบบออนไลน์วิถีใหม่ในช่วงโควิด 19. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 24(1),103. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jsrc/article/view/251233/177385

ศุภชัย เจียรวนนท์. (2563, 5 เมษายน). จาก Digital Disruption สู่การดิสรัปตัวเอง ให้ทันโลก New Normal. https://www.dct.or.th/covid-19/detail/74.

สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563, 29 มิถุนายน). New normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14- 39-49.

เสาวรัจ รัตนคำฟู. (2563, 18 พฤษภาคม). ผลกระทบของการทำงานที่บ้านในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ.https://tdri.or.th/tag/.

สมชาย เทพแสงและคณะ. (2566). การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ Outcome-based Education (OBE): กุญแจสําคัญในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นหลัก. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา 2(1), 39-48. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JIREI/article/view/1928/1488

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). ทิศทางและแนวโน้มการจัดการศึกษาในยุคโควิด – 19. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(1), 297-334. https://link.springer.com/article/10.1007/BF02310555.

Goodman, L.A. (1961) Snowball Sampling. Annals of Mathematical Statistics, 32(1), 148-170.

Ivana Marinovic Matovic. (2020, September 29). PESTEL analysis of external environment as a success factor of startup business, [Paper presentation]. ConScienS Conference Proceedings 015im, Research Association for Interdisciplinary Studies, Ivana Marinovic Matovic.

Kumar, Sandeep and Geetika. (2019, September 1). The McKinsey 7S model helps in strategy implementation: a theoretical foundation. Tecnia Journal of Management Studies, 14(1), 7-12. https://ssrn.com/abstract=3993590

Patton, M. Q. (1990). Qualitative evaluation and research methods. Newbury Park, Sage Publications.

Poolpatarachewin, C. (2003) Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR). Journal of Education Studies, 32(1), 20-38. https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol32/iss1/2.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140(1), 1–55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26