การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิด
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, การโค้ชเพื่อการรู้คิด, ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิด 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และ 4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยศึกษาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ในกลุ่มประชากรทั้งหมดที่เรียนในสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง จำนวน 109 คน พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบและแผนจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิด แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 1- 4 มีระดับคะแนนความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันโดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 41.50 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิด ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดปัญหา/คำถาม ทำความเข้าใจปัญหา ศึกษาค้นคว้าหาทางเลือก ทดสอบและสังเคราะห์ความรู้ สะท้อนคิดและประเมินค่าและนำเสนอและประเมินผลงาน 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนด้านความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นต่อการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการโค้ชเพื่อการรู้คิดมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
ทรงนคร การนา และสุราษฎร์ พรมจันทร์. (2558, พฤศจิกายน 6). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับนักศึกษาครูช่าง [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 8 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 9(1), 64-71. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FEU/article/view/39037/32327
บัญชา ธรรมบุตร, คชา ปราณีตพลกรัง, พระมหาอรรถพงษ์ อตฺถญาโณ, บัญชา เกียรติจรุงพันธ์. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ในวิชาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับครู. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 10-19. https://edu.snru.ac.th/wp-content/uploads/2020/01/2-E-Proceeding-EDU-1.pdf
ภัทราวดี มากมี. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 1(1), 7-14. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/28708/24713
เรขา อรัญวงศ์. (2543). รูปแบบการสอน (Models of Teaching) (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/240674
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
วีระพันธ์ เจริญลิขิตกวิน และนิพัทธา ชัยกิจ. (2563). ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(2), 154-165. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/240542/167067
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สิรินทร์ ปัญญาคม, วัชราภรณ์ เขาขจร, อัจฉรา ไชยสี ขูรีรัง, อรุณรัตน์ คำแหงพล และวาทินี แกสมาน. (2561). การศึกษามุมมองและประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(29), 75-84. https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=12
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. สกศ.
หัสยาพร อินทยศ และนิพิฐพนธ์ แสงด้วง. (2565). การวิจัยเชิงทดลอง: แบบแผนและการประยุกต์ใช้. วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา, 2(2), 47-64. https://thaidj.org/index.php/jpphd/article/view/13460/10981
Al Sultan, A., Henson, H. J., & Fadde, P. J. (2018). Pre-service elementary teachers' scientific literacy and self-efficacy in teaching science. IAFOR Journal of Education, 6(1), 25–41. https://doi.org/10.22492/ije.6.1.02
Barber, M., & Mourshed, M. (2007). How the world's best-performing school systems come out on top. McKinsey and Company.
Gormally, C., Brickman, P., & Lutz, M. (2012). Developing a test of scientific literacy skills (TOSLS): Measuring undergraduates’ evaluation of scientific information and arguments. CBE Life Sciences Education, 11(4), 364-377. https://doi.org/10.1187/cbe.12-03-0026
Hanushek, E. A., Piopiunik, M., & Wiederhold, S. (2019). The value of smarter teachers: International evidence on teacher cognitive skills and student performance. The Journal of Human Resources, 54(4), 858-899. DOI: https://doi.org/10.3368/jhr.54.4.0317.8619R1
Khishfe, R., & Abd-El-Khalick, F. (2002). Influence of explicit and reflective versus implicit inquiry-oriented instruction on sixth graders' views of nature of science. Journal of Research in Science Teaching, 39(7), 551–578. https://doi.org/10.1002/tea.10036
Khishfe, R., & Lederman, N. G. (2007). Relationship between instructional context and views of nature of science. International Journal of Science Education, 29(8), 939–961. https://doi.org/10.1080/09500690601110947
McComas, W. F., & Olson, J. K. (2002). The nature of science in international science education standards documents. In W. F. McComas (Ed.), The nature of science in science education: Rationales and strategies (pp. 41–52). Kluwer Academic Publishers.
Picillo, M. (2018). Understanding student development of science literacy skills in an undergraduate environmental science course [Master’s thesis, The University of Maine]. Electronic Theses and Dissertations. 2906. https://digitalcommons.library.umaine.edu/etd/2906
Schmidt, H. G. (1993). Foundation of problem-based learning: Some explanatory notes. Medical Education, 27(5), 422–432. https://doi.org/10.1111/j.1365-2923.1993.tb00296.x
Shaaban, E., Ali, I.A., & Chatila, H. (2019). Investigating science misconceptions of pre-service early childhood education teachers at the Lebanese University, Faculty of Education. The Eurasia Proceedings of Educational & Social Sciences (EPESS), 15, 55-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว