การใช้ภาษาสื่อสารอัตลักษณ์การบริการแบบไทยในโรงพยาบาลสำหรับผู้เรียนชาวกัมพูชา

ผู้แต่ง

  • NARONG SARATH คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุภัค มหาวรากร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์การบริการแบบไทย, นักศึกษาชาวกัมพูชา, การเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาที่สื่อสารอัตลักษณ์การบริการแบบไทยในโรงพยาบาลสำหรับผู้เรียนชาวกัมพูชา โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในโรงพยาบาลในประเทศไทยโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลจักษุรัตนิน ศูนย์แพทย์พัฒนา และ คลินิก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องชาวกัมพูชา 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตในโรงพยาบาลและบัณฑิตเอกภาษาไทยที่ฝึกประสบการณ์ในโรงพยาบาลไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ผลการวิจัยพบว่า วัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอัตลักษณ์การบริการแบบไทยได้แก่ การใช้คำบุรุษสรรพนาม การใช้คำทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” การใช้ภาษาแสดงความสุภาพ และการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ ส่วนอวัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารอัตลักษณ์การบริการแบบไทย ได้แก่ การแต่งกาย การแสดงออกทางใบหน้า และ ท่าทางและการเคลื่อนไหวทางร่างกาย อัตลักษณ์ดังกล่าวหล่อหลอมด้วยวัฒนธรรมไทยและการประพฤติปฏิบัติของคนไทยที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวกัมพูชาและสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนชาวกัมพูชาที่เรียนภาษาไทยได้คุ้นเคยกับสถานที่ฝึกประสบการณ์คือโรงพยาบาล และสร้างความมั่นใจแก่ผู้เรียนชาวกัมพูชาที่จะฝึกประสบการณ์ในโรงพยาบาลไทยได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมวิชาการ สถาบันภาษาไทย. (2545). ชุดบรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3 : ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธสาร. สถาบันภาษาไทย.

กรมวิชาการ สถาบันภาษาไทย. (2545). ชุดบรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4 : วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย. สถาบันภาษาไทย.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). มารยาทไทย มารยาทในสังคม. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 - 2569). https://hss.moph.go.th/fileupload/2560-102.pdf

กรรณิการ์ อัศวดรเดชา. (2553). การสื่อสารของมนุษย์. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา โชคเหรียญสุขชัย. (2550). การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา : รูปแบบและการใช้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา นาคสกุล. (2540). คำสรรพนามในภาษาไทยสะท้อนวัฒนธรรมไทย.https://legacy.orst.go.th/?knowledges

ธิดาวรรณ ศรีจรูญ. (2560). การใช้บริการโรงพยาบาลไทยของผู้ป่วยจากประเทศกัมพูชาและเมียนมา กรณีศึกษาโรงพยาบาลพญาไท 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://search.app.goo.gl/gbA5VsC

บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน). (2557). รายงานความยั่งยืนขององค์กร 2557. https://bdms.listedcompany.com/misc/sd-report/20150317-bdms-csrreport2014-th.pdf

ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง การแต่งกายของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์. (2562, 6 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 136 ตอนพิเศษ 223.หน้า 1-23. https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_00010.PDF

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/index.php

วริศรา อนันตโท. (2561). ภาษาและวัฒนธรรม. คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วิไล ศิลปะอาชา และ ศิรพัชร์ ฌานเชาว์วรรธน์. (2561). ความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยฯ, 33(1), 20-36. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bulletinatpf/article/view/142169/105255

วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์. (2552). บุคลิกภาพและมรรยาทวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baldwin, J. R. (2014). Intercultural communication for everyday life: Chichester. Wiley Blackwell.

Le Tran, M. K. และ สุภัค มหาวรากร. (2565). ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการใช้คำบุรุษสรรพนามภาษาไทยของผู้เรียนชาวเวียดนามที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 28(4), 113-124. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tgt/article/view/255330/176611

Royal University of Phnom Penh. (2014). Department of Thai. https://rupp.edu.kh/ifl/thai/?page=Introduction

Sam Art, N. & Sam-Ang, S. (2002). Khmer Salutation. Khmer Culture Association.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26