สงครามยาเสพติดในโรงเรียนกับปฏิบัติการน่านน้ำสีคราม : แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดเชิงรุก

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ จันทร์น้อย การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มีชัย ออสุวรรณ การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุดารัตน์ สารสว่าง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ปัญหายาเสพติด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นเชิงผสมผสานแบบแผนแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) มีกระบวน 2 ขั้น ตอนแรก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวังของการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดของนักเรียน โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 214 คน ใช้แบบสอบถามแบบมาตรวัดในการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และลำดับความต้องการจำเป็นด้วยสูตร PNIModified และตอนที่สอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดของนักเรียน โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยกลยุทธ์เชิงรุก “น่านน้ำสีคราม” โดยให้ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน จำนวน 9 คน พิจารณาผลการวิจัยเชิงปริมาณก่อน จากนั้น จึงสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า

1. ค่าเฉลี่ยของสภาพที่คาดหวังสูงกว่าสภาพที่เป็นอยู่ทุกด้าน แสดงให้เห็นว่าแนวทางที่โรงเรียนใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อป้องกันและแก้ไขการใช้สารเสพติดของนักเรียนยังต้องได้รับการปรับปรุง

2. โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการควรมีการ “ตัด ลด เพิ่ม สร้าง” การบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติดของนักเรียน โดยเฉพาะการ “เพิ่ม” กิจกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในเชิงรุก และ “สร้าง” ความเข้มแข็งทางจิตใจแก่นักเรียน เพื่อให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากโรงเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2565). รายงานสถิติคดีประจำปี พ.ศ. 2565. https://www.djop.go.th/storage/files/2/รายงานสถิติคดี%202565.pdf.

กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือครูระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วงชั้น 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ธนิตา หิรัญเทพ. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่เสพยาเสพติดซ้ำในผู้เข้ารับการบำบัดในระบบบังคับบำบัด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(2), 157-164.

นิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี. (2551). บทวิจารณ์หนังสือ Blue Ocean Strategy : W. Chan Kim and Renee Mauborgne. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1(2), 141-147.

พรรณปพร ลีวิโรจน์. (2565). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่ใช้สารเสพติด จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 13(1), 36-52.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คำสมัย.

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2563, 22 พฤษภาคม). Blue Ocean Strategy กับกลยุทธ์การตลาดของฟาร์มโชคชัย. https://medium.com/@rungroje.s/blue-ocean-strategy-กับ-กลยุทธ์การตลาดของ-ฟาร์มโชคชัย-5b913c028976

ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). Blue Ocean Strategy. Executive Journal, 8(1), 931-942.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. (2565, 27 ธันวาคม). ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติดเผยข้อมูลเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีใช้กัญชาแบบสูบสูงขึ้น 10 เท่าใน 3 ปี. https://www.hfocus.org/content/2022/12/26694

สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย. (2565, 23 มิถุนายน). ยุวทัศน์ฯ เผย “วัยรุ่นไทย” น่าห่วงร้อยละ 12.3 สูบบุหรี่ไฟฟ้ากว่า 2 ใน 3. https://www.hfocus.org/content/2022/06/25365

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). แผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษายาเสพติด ปี 2562. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมของจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี 2564. สมุทรปราการ: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ. (2565). สารสนเทศด้านจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา. https://edustatistics.moe.go.th/teacher11

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติคดียาเสพติดของประเทศไทย. https://ittdashboard.nso.go.th/preview.php?id_project=66

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชุลี เตมียะประดิษฐ์. (2550, 1 สิงหาคม). สารเสพติดกับภาวะซึมเศร้า [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6 เรื่อง สุขภาพจิตชีวิตชาวเมือง, โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Best, J.W. (1977). Research in education. (3rd ed.). New Jersey. Prentice Hall.

Cohen, L., & Manion, L. (1994). Research Methods in Education (4th ed.). London: Routledge.

Independent School Management. (2023, January 29). How Schools Can Work to Prevent Substance Abuse [Status Update]. Website. https://isminc.com/advisory/publications/the-source/how-schools-can-work-prevent-substance-abuse-0

Kim, W.C., & Mauborgne, R. (2006). Blue Ocean Strategy. Bangkok: SE-ED Education.

National Crime Prevention Centre. (2008). School-Based Drug Abuse Prevention: Promising and Successful Programs. https://www.publicsafety.gc.ca/cnt/rsrcs/pblctns/sclbsd-drgbs/indexen.aspx#ch03a

United Nations Children's Fund. (2021, October 12). COVID-19 pandemic continues to drive poor mental health among children and young people. https://www.unicef.org/thailand/press-releases/covid-19-pandemic-continues-drive-poor-mental-health-among-children-and-young-people

United Nations Children's Fund. (2022). ยูนิเซฟและกรมสุขภาพจิตชี้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยน่าเป็นห่วง ต้องยกระดับบริการสุขภาพจิตโดยเร่งด่วน. https://shorturl.asia/5w8dP

United Nations Office on Drugs and Crime. (2004). School-Based Education for Drug Abuse Prevention. https://www.unodc.org/pdf/youthnet/handbook_school_english.pdf

United Nations Office on Drugs and Crime. (2022, June). World Drug Report 2022. Vienna: United Nations publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27