กลวิธีการแปลชื่อหนังสือเกาหลีเป็นภาษาไทย กรณีศึกษา : หนังสือเกาหลีที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ.2012-2023

ผู้แต่ง

  • ชุลีวรรณ ไหลเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

กลวิธีการแปล, หนังสือเกาหลี, หนังสือแปล, ชื่อหนังสือ, ประเภทหนังสือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจจำนวนและประเภทของหนังสือเกาหลีฉบับแปลภาษาไทยที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ.2012-2023 และวิเคราะห์กลวิธีการแปลของชื่อหนังสือเกาหลีฉบับแปลภาษาไทยดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix-Method Research) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณ (Quantitative Content Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis)

ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 พบว่า หนังสือเกาหลีที่มีชื่อภาษาเกาหลีปรากฏบนหน้าปกพร้อมทั้งชื่อฉบับแปลภาษาไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 241 เล่ม แบ่งเป็น 3 ประเภท เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง 2) วรรณกรรม และ 3) ประเภทอื่น ๆ โดยผลการศึกษาที่พบว่าหนังสือเกาหลีประเภทจิตวิทยาและการพัฒนาตนเองได้รับการแปลจำนวนมากที่สุด สะท้อนความต้องการของผู้อ่านในปัจจุบันหวังจะได้รับการเยียวยาจิตใจและกำลังใจผ่านการอ่านหนังสือ ผลการศึกษาส่วนที่ 2 พบว่า มีการใช้กลวิธีการแปลชื่อหนังสือเกาหลีทั้งสิ้น 4 กลวิธีหลัก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การตั้งชื่อใหม่ 2) การแปลตรงตัว 3) การแปลบางส่วน และ 4) การแปลทับศัพท์ กลวิธีการแปลชื่อหนังสือเกาหลีสามารถนำไปปรับใช้กับการแปลชื่อหนังสือภาษาเอเชียตะวันออกอื่น ๆ ทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน รวมถึงประยุกต์กับการแปลงานด้านสื่อบันเทิงแขนงอื่น เช่น การแปลชื่อซีรีส์ การแปลชื่อภาพยนตร์เกาหลี ฯลฯ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกวรรณ มาดายัง. (2564). จากเกาหลี สู่การเมืองไทย ชวนรู้จัก “แฟนด้อม” คืออะไร?. https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/968947

แจ่มใส : ผู้จุดประกายนิยายรักเกาหลี. (2548, พฤษภาคม 13). PositioningMag. https://positioningmag.com/7350

ชุติมา ว่านเครือ. (2558). กลวิธีการแปลชื่อรายการสารคดีโทรทัศน์ กรณีศึกษา: รายการมิติโลกหลังเที่ยงคืน ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80594.

นิศารัตน์ โอทอง และคณะ. (2566). กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ใน Netflix จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. วารสารอักษราพิบูล. 4(1), 89-106.

พันครั้งที่หวั่นไหวกว่าจะเป็น “คิมรันโด” ที่ปรึกษาวัยรุ่นแห่งประเทศเกาหลี. (2562, ธันวาคม 4). https://amarinbooks.com/คิมรันโด/

พิชญาภา ปัญญาศิริ. (2564). การศึกษากลวิธีการแปลข้ามวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาสเปน ในบทบรรยายภาพยนตร์ชุดเรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯhttps://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5336/

พุทธมนต์ กัญจนบุศย์. (2558). การแปลหนังสือและวิเคราะห์การแก้ปัญหาการแปล ตามกลวิธีของโมนา เบเคอร์ : กรณีศึกษาจากหนังสือเรื่อง “ทําอย่างไรจะปราศจากโรคและชะลอความชรา” ของ ศ.นพ. เฉก ธนะสิริ. [สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:141517

ภัทร ตันดุลยเสรี. (2549). แนวทางการแปลชื่อเรื่องสั้นอาชญนิยาย: กรณีศึกษานิตยสารรหัสคดี. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ. https://cuir.chula.ac.th/

วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2563). ทฤษฎีและหลักการแปล–Theories of Translation. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลยา วิวัฒน์ศร. (2557). การแปลวรรณกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวรรณ ทองวัน. (2555). กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ตลกอเมริกันเป็นภาษาไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยศิลปากร.https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/12911?attempt=2&&locale-attribute=th

สัญฉวี สายบัว. (2564). หลักการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 10). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน.

สิทธา พินิจภูวดล. (2542). คู่มือนักแปลอาชีพ. นานมีบุ๊คส์.

อลงกรณ์ พลอยแก้ว. (2564). การเขียนสารคดีและบันเทิงคดี. https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34497

Atlasti. (2023). Holsti Index. https://atlastihelp.helpscoutdocs.com/article/195-analysis-of-inter-coder-agreement

Baker, M. (1992). In Other Words: A Coursebook on Translation. Routledge.

Catford, J. C. (1965). A Linguistic Theory of Translation. Oxford University Press.

Gibson, J. (2021). 2021 in Review: K-pop Surviving Through the Pandemic. https://keia.org/the-peninsula/2021-in-review-k-pop-surviving-through-the-pandemic/

Kim, Y. S. (1997). Korea's Quest for Reform & Globalization: Selected Speeches of President Kim Young Sam. Office of the President, the Republic of Korea.

Lee, G. L. (2024). Quality translation backs Korean literature's rise on global stage. The Korea Times. https://www.koreatimes.co.kr/www/culture/2024/05/135_366407.html

Medina, J.W. (2018). At the Gates of Babel: the Globalization of Korean Literature in World Literature, Acta Koreana, 21(2), 35–421. https://www.researchgate.net/publication/329668790_At_the_Gates_of_Babel_the_Globalization_of_Korean_Literature_as_World_Literature

Newmark, P. (1988). A Textbook of Translation. Prentice Hall.

Nida, E. A. (1964). Towards a Science of Translating: With Special Reference to Principles and Procedures Involved in Bible Translating. Brill.

Nida, E. A. and Taber, C.R. (1969). The Theory and Practice of Translation. Leiden.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26