การพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเทคนิค เพื่อนคู่คิดของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ความรู้และความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล ; เพื่อนคู่คิด ; นักศึกษาครูบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเทคนิคเพื่อนคู่คิดของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเทคนิคเพื่อนคู่คิด และศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลโดยเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 3 วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำนวน 47 คน โดยใช้ แบบสอบถามความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล บทเรียนออนไลน์ และ แบบทดสอบเก็บคะแนนทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
มีสภาพที่คาดหวังในระดับมาก (4.31) และสภาพที่เป็นจริงในระดับปานกลาง (2.75) ค่าความต้องการจำเป็นในภาพรวม มีค่า PNI modified (Priority Needs Index) เท่ากับ 0.57 คะแนนทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในด้านการจัดการเรียนการสอนควรมีการกระตุ้นเปิดโอกาสให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็น การอภิปราย การช่วยเหลือ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งยังควรให้นักศึกษาได้ตรวจสอบความถูกต้องของผลงานร่วมกัน เช่นเดียวกันกับการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างโจทย์ปัญหาด้วยตนเองและค้นคว้าคำตอบในสิ่งที่ตนเองสนใจ
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (6 มีนาคม 2562ก). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ หลักสูตรสี่ปี พ.ศ. 2562. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF /2562/E/056/ T_0012.PDF
กระทรวงศึกษาธิการ. (27 ธันวาคม 2562ข). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564. https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/11/จุดเน้น2564.pdf
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (1 กรกฏาคม 2563). สภาพจิตใจของวัยรุ่น. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/06062014-0847
ชมภูนุช พุฒิเนตร. (2563). รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงรุกสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(1), 71-80.
ณัฐกานต์ เรือนคำ และกิตติชัย สุธาสิโนบล. (2565). การเสริมสร้างสมรรถนะครูไทย กับการศึกษา 4.0. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 128-142.
นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1630-1642.
ภัทรสุดา ยะบุญวัน. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล ของนักศึกษาวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(2), 256-275.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ในยุค New normal. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ademiluyi, L. F., & Fawale, A. A. (2022). Effect of think-pair-share technique on academic performance of office practice students in colleges of education, Kwara state. Journal of Education in Black Sea Region, 8(1), 7-12.
Castellví, J., Consuelo, M., Bedmar, D., & Santisteban, A. (2020). Pre-Service Teachers’ Critical Digital Literacy Skills and Attitudes to Address Social Problems. Social Science, 9(8), 1-11. https://doi:10.3390/socsci9080134
Churchill, N. (2020). Development of students’ digital literacy skills through digital storytelling with mobile devices. Educational Media International, 57(3), 271-284.
Csobanka, Z. E. (2016). The Z generation. Acta Educationis Generalis, 6(2), 63-76.
Fernández, M., Quintana, J., Dominic, W., Darius, L., & Alexandra, W. (2022). Think Pair Share Method as a Tool to Increase Student Interest and Learning Outcomes. World Psychology, 1(3), 141-159.
Handayani, D., Sundaryono, A., & Rohiat, S. (2019, April). Think pair share cooperative learning model using edmodo application. In 3rd Asian Education Symposium (AES 2018), (254-258). Atlantis Press. https://doi.org/10.2991/aes-18.2019.60
Lee, C., Li, H-C., & Shahrill, M. (2018). Utilizing the think-pair-share technique in the learning of probability. International Journal on Emerging Mathematics Education, 2(1), 49-64.
Lyman, F. T. (1981). The responsive classroom discussion. In A. S. Anderson (Ed.), Mainstreaming Digest (109-113). College Park, MD: University of Maryland College of Education.
Vodă, A. I., Cautisanu, C., Grădinaru, C., Tănăsescu, C., & de Moraes, G. H. S. M. (2022). Exploring digital literacy skills in social sciences and humanities students. Sustainability, 14(5), 2483. https://doi.org/10.3390/su14052483
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว