การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง

ผู้แต่ง

  • สุมนา อภิวัฒน์นวพล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พีร วงศ์อุปราช ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปิยะทิพย์ ประดุจพรม ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

มาตรวัดภาวะหมดไฟ, มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู, ความตรงเชิงโครงสร้าง, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี จำนวน 600 คน การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ด้วยโปรแกรม LISREL Version 8.80 ผลการวิจัยปรากฏว่า มาตรวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครู มีองค์ประกอบทั้งหมด   3 ด้าน ได้แก่ ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ จำนวน 32 ข้อ ด้านการสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล จำนวน 46 ข้อ และด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของตน จำนวน 22 ข้อ โมเดลภาวะหมดไฟในการทำงานของครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า c2 = 15467.46 (p = 0.00), df = 4647, RMSEA = .068, SRMR = .072, NNFI = .980 และ CFI = .980 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปว่า มาตรวัดที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง และสามารถวัดภาวะหมดไฟในการทำงานของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสุขภาพจิต. (7 ธันวาคม 2564). Burnout Syndrome ภาวะหมดไฟในการทำงาน. http://dmh.go.th/News/view.asp?id=2445

จารุพร ตั้งพัฒนกิจ, และปาณิก เสนาฤทธิไกร. (2565). บทบาทของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบจำลองสมการโครงสร้าง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(2), 99-110.

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 44(1), 1-16.

บุญญรัตน์ กองอรรถ, พงศ์เทพ จิระโร, และณัฐกฤษตา งามมีฤทธิ์. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดจันทบุรี. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 33(177), 73-79.

บุญธิดา เทือกสุบรรณ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CMU.the.2007.630

ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, กนก พานทอง, และรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2563). การพัฒนามาตรวัดความเจริญงอกงามแบบออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารเกษมบัณฑิต, 21(2), 138-159.

ปาริชาติ ทาโน, ศิริชัย กาญจนวาสี, และโชติกา ภาษีผล. (2561). การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดอภิปัญญาของนักศึกษาพยาบาลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสาร Kuakarun Journal of Nursing, 25(2), 7-20.

พรรณพร กะตะจิตต์. (18 พฤศจิกายน 2562). WHO ประกาศภาวะหมดไฟเป็นความผิดปกติ. https://www.scimath.org/article-biology/item/10629-who

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2561). โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) (พิมพ์ครั้งที่ 2). เอ.พี.บลูปริ้นท์.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (16 มกราคม 2566). เปิด 6 อุปสรรคการทำงานของครูไทย. http://isranews.org/content-page/item/18823-เปิด6อุปสรรคการทำงานของครูไทย-sp-1628907973.html

อมรา ผดุงทรัพย์, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, และกนก พานทอง. (2564). การพัฒนามาตรวัดทักษะการคิดเชิงบวกสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 6(2), 211-224.

Ballantyne, J., & Retell, J. (2020). Teaching careers: Exploring links between well-being, burnout, self-efficacy and praxis shock. Front Psychol, 10, 22-55.

Friedman, I. A. (2003). Self-Efficacy and Burnout in Teaching: The Importance of Interpersonal-Relations Efficacy. Social Psychology of Education, 6(3), 191-215. https://doi.org/10.1023/A:1024723124467

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. 7th ed. Pearson Education.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate data analysis. 8th ed. Cengage Learning.

Maslach, C., & Jackson, S. E. (1986). Maslach Burnout Inventory manual. 2nd ed. Consulting Psychologists Press.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A Beginners Guide to Structural Equation Modeling. Routledge.

Tangpattanakit, J. (2022). Conceptualizing the Measuring Scale for Social Media Involvement. Journal of Arts and Thai Studies, 44(2), 166-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23