การประยุกต์ใช้แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ในต่างประเทศและประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริการสาธารณะแนวใหม่, แนวคิด, การนำไปประยุกต์ใช้บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดการบริการสาธารณะใหม่ การประยุกต์ใช้แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ในต่างประเทศ การประยุกต์ใช้แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ในประเทศไทย และแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณะแนวใหม่ของประเทศไทย
จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารต่าง ๆ พบว่า แนวคิดการบริการสาธารณะใหม่นำไปสู่การปรับบทบาทใหม่ในการบริการสาธารณะของภาครัฐ เน้นให้รัฐเป็น “ผู้ฟัง” เสียงของพลเมืองมากกว่าเป็น “ผู้สั่ง” ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สวีเดน แคนาดา ออสเตรเลีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ให้ความสำคัญกับการบริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และการสร้างความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน ทั้งนี้การบริการสาธารณะของประเทศไทย กรณีตัวอย่างโครงการบ้านมั่นคง สะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะโดยหน่วยงานในรูปองค์การมหาชนทำหน้าที่หนุนเสริมองค์กรชุมชนและเครือข่ายในการแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่น และแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณะแนวใหม่ของประเทศไทยที่สำคัญ คือ รัฐฟังมากกว่าสั่ง เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ การบูรณาการทุนทางสังคมในชุมชน การให้ความสำคัญกับรูปแบบและแนวทางการบริการสาธารณะที่มีความหลากหลาย และมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริการสาธารณะ
Downloads
References
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2549). องค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ. สำนักพิมพ์นิติธรรม.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2558). โครงการบ้านมั่นคง. สำนักงานบ้านมั่นคง.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (21 มีนาคม 2562). บ้านมั่นคงเมืองและชนบท. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). https://web.codi.or.th/development_project/20190321- 135/
Bryson, J. M., Crosby, B. C., & Bloomberg, L. (2014). Public Value and Public Administration. Georgetown University Press.
Chantarat, S. (2021). Urban Community Development in Thailand: The Case of “Ban Mankong” Program. National Housing Authority.
Clarke, S. E., & Gaile, G. L. (1998). The Work of Cities. University of Minnesota Press.
Denhardt, J. V., & Denhardt, R. B. (2000). The New Public Service: Serving Rather than Steering. Public Administration Review, 60(6), 549-559.
Denhardt, J. V., & Denhardt, R. B. (2015). The New Public Service: Serving, Not Steering. M.E. Sharpe.
Hay, C. (2002). Political Analysis: A Critical Introduction. Palgrave.
Kretzmann, J. P., & McKnight, J. L. (1993). Building Communities from the Inside Out: A Path Toward Finding and Mobilizing a Community's Assets. Institute for Policy Research.
Lane, M. B. (2006). The Governance of Coastal Resources: Community-Based Management in Australia. CSIRO Publishing.
Moore, M. H. (1995). Creating Public Value: Strategic Management in Government. Harvard University Press.
Ostrom, E. (1990). Governing the commons The evolution of institutions for collective action. Cambridge University Press.
Pierre, J. (2000). Debating Governance: Authority, Steering, and Democracy. Oxford University Press.
Putnam, R. D. (2000). Bowling Alone: The Collapse and Revival of American Community. Simon & Schuster.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว