การวิเคราะห์อิมโพรไวส์ของวู้ดดี้ ชอว์ เพลง There Will Never Be Another You
Keywords:
Woody Shaw, Trumpetist, There Will Never Be Another You, ImprovisationAbstract
วู้ดดี้ ชอว์ (Woody Shaw) เขาได้เริ่มเรียนทรัมเป็ตคลาสสิคตอนอายุ 11ปี ต่อมาได้หันมาสนใจในดนตรีแแจ๊ส โดยได้รับแรงบันดาลใจจากนักทรัมเป็ตหลายคน เช่น หลุยส์ อาร์มสตรองค์ (Louis Armstrong), ดิซซี่ กิลเลซปี (Dizzy Gillespie), แฟตส์ นาวาโร (Fats Navarro), คลิฟฟอร์ด บราวน์ (Clifford Brown), บรูคเคอร์ ลิตเทิล (Booker Little), ลี มอร์แกน (Lee Morgan) และ เฟรดดี้ ฮับบาร์ด (Freddie Hubbard) ต่อมาเขาได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากนักดนตรีแจ็สหัวก้าวหน้าอย่าง อีริค ดอล์ฟี่ (Eric Dolphy), จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) และแมคคอล์ย ไทเนอร์ (McCoy Tyner) ทำให้สไตล์การเล่นของ วูดดี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและโดดเด่นในแง่ของการใช้เทคนิค แนวคิดใหม่ๆเข้าไปหลอมรวมกับดนตรีบีบ็อป (Bebop) การอิมโพรไวส์ของเขา จะมีความน่าสนใจในเรื่องของการใช้ฮาร์โมนีที่ซับซ้อนขึ้นกว่าดนตรีในยุค บีบ็อป บ่อยครั้งจะพบแนวคิด โพลีโทนาลิตี้ (polytonality) อยู่ในบทเพลง การสร้างเมโลดี้ที่มีการใช้คู่เสียง ที่กว้างเช่น คู่ 4, คู่ 5 การนำบันไดเสียงเพนทาโทนิค (Pentatonic Scale) มาใช้ในรูปแบบซุปเปอร์อิมโพสต์ (Superimpose) หรือแมัแต่การจัดกลุ่มโน้ตใหม่ให้เพื่อให้ประโยคเพลงไม่ตกลงตามห้องเพลง (Over the Barline) สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ก้าวหน้าของดนตรีแจ๊ส และนำพาดนตรีแจ็สออกมาจาก แนวคิด แบบเดิม (Traditional) มาสู่แนวคิดของดนตรีแจ๊สสมัยใหม่ (Modern Jazz)
References
2. Levine, Mark. (1995). The Jazz Theory Book. Petaluma: Sher Music Co.
3. Show, Woody. (1986). Solid. (Sound Recording)
4. Ligon, Bert. Woody Shaw Trumpet solo "There will never be another you" [online]. Available: http://www.music.sc.edu/ea/jazz/transcriptions.html
5. Woody Shaw [online]. Available: http://en.wikipedia.org/wiki/Woody_Shaw
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
กองบรรณาธิการฯ สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตอบรับการตีพิมพ์ ความรับผิดชอบใดๆ เกี่ยวกับเนื้อหาและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียนต่อบทความนั้นๆ กองบรรณาธิการฯ ไม่ต้องรับผิดชอบ