บทเพลงเพื่อการพัฒนาศักยภาพ สำหรับนักเปียโนไทย

Authors

  • วีรชาติ เปรมานนท์, ดร. Faculty of fine and applied arts, Chulalongkorn university

Keywords:

พัฒนาศักยภาพ, นักเปียโนไทย, บทเพลง

Abstract

การบรรเลงเปียโนได้อย่างมีคุณภาพนั้น นักเปียโนต้องสามารถถ่ายทอดความหมาย และความรู้สึก ผ่านเพลงโดยใช้เทคนิคการเล่นเปียโนที่ทรงประสิทธิภาพ เทคนิคที่ใช้เล่นเปียโนต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนา ผ่านการเล่นบทเพลงประเภท Etude ซึ่งก็คือแบบฝึกพัฒนาเทคนิคการเล่นเปียโนในรูปบทเพลง ซึ่งบทเพลง เหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความยาก จึงเหมาะสำหรับนักเปียโนระดับมืออาชีพขึ้นไป การสร้างสรรค์บทเพลง ประเภทนี้เหมาะสมกับนักเปียโนไทยจึงมีความสำคัญระดับชาติ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีนักเรียนเปียโนอยู่ ประมาณ 7,500 คน เป็นนักเปียโนอาชีพและนักเปียโนสมัครเล่นอีกกว่า 12,000 คน (จากรายงานสถิติผู้เข้าสอน เปียโนสถาบันต่างๆ และสถิติจากโรงเรียนดนตรีทั่วประเทศ) ซึ่งจากตัวเลขนี้ประเทศไทยต้องสั่งซื้อหนังสือ และตำราเปียโนจากต่างประเทศจำนวนมาก อีกทั้งตำราเหล่านั้นยังไม่มีความเหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรม การศึกษาของคนไทย งานวิจัยนี้ศึกษาเทคนิคการเล่นเปียโนในรูปบทฝึกของนักเปียโนที่ประสบความสำเร็จในอดีต และค้นพบ ว่ารูปแบบและการฝึกของ Theodor Leschetizky ผู้ซึ่งเป็นนักเปียโนต้นแบบนั้นมีเทคนิคการเล่นเปียโนที่เป็น ธรรมชาติและมีความโดดเด่น นอกจากนั้น ยังรวมถึงศึกษาบทเพลงเปียโนที่ใช้สอบวัดระดับความสามารถของ นักเปียโน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิจัยทั้งหมดไปใช้ในการประพันธ์บทเพลงฝึกเพื่อการพัฒนา ศักยภาพนักเปียโนชาวไทย โดยในแต่ละบทเพลงจะมีท่วงทำนองที่มีการพัฒนาด้านเทคนิคที่สอดคล้องกับ ระดับความสามารถของผู้เล่น บทเพลงดังกล่าวที่ประพันธ์ขึ้นนี้มีเนื้อหาที่เป็นการพัฒนาเทคนิคการเล่นเปียโน เฉพาะด้าน และมีสำเนียงที่แสดงออกถึงความเป็นไทย ในส่วนท้ายของแต่ละบทเพลงจะมีคำอธิบายและ ข้อแนะนำในการเล่นที่สามารถช่วยอธิบายให้ผู้เล่นเข้าใจถึงวิธีการฝึกฝนพัฒนาเทคนิคต่างๆ ที่มีอยู่ในบทเพลง ดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นการพัฒนาศักยภาพในเรื่องของเทคนิคการเล่นเปียโนของนัก เปียโนชาวไทย อีกทั้งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำหนังสือเรียนเปียโนในแต่ละระดับต่อไป

References

1. จารรุวรรณ สุริยวรรณ์. (2549). แนวทางการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
2. ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ทรรศนีย์ปราบอักษร. (2548). การศึกษาโอกาสทางการตลาดของธุรกิจโรงเรียนดนตรีในเขตกรุงเทพมหานคร [Online]. Available from: http://www.stjohn.ac.th/grsweb/graduate/up_december44/thesis/tussanee_t.htm [2548, กรกฎาคม 19]
4. ลุดวิก. (2548). ดนตรี:สมบัติของมวลมนุษยชาติ[Online]. Available from:
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ludwig&group=9 [2553, พฤษภาคม 7]
5. Louis Kentner. (1991). Piano. Great Britain: Halstan & Co Ltd, Amersham, Bucks.
6. Malwine Br e. (1997). The Leschetizky Method A Guide to fine and correct piano playing. New York: Dover Publications, INC.
7. Marie Prentner. (2005). Leschetizky's Fundamental Principles of Piano Technique. New York: Dover Publications, INC.
8. Theodor Leschetizky (2552). [Online]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Theodor_Leschetizky [2552, สิงหาคม 10]

Downloads

Published

07.08.2018

How to Cite

เปรมานนท์ วีรชาติ. 2018. “บทเพลงเพื่อการพัฒนาศักยภาพ สำหรับนักเปียโนไทย”. Rangsit Music Journal 5 (2):5-19. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/rmj/article/view/138865.

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article