โปงลางอีสาน : ภาพสะท้อนการเปลี่ยนผ่านสังคมวัฒนธรรมอีสาน
Keywords:
โปงลางอีสาน, วัฒนธรรมอีสานAbstract
บทความนี้ มีจุดมุ่งหมายศึกษาปรากฏการณ์การสืบเนื่อง และการเปลี่ยนผ่านของสังคมอีสานใน แง่มุมมิติเชิงซ้อน วิธีคิด การล้อเลียนเสียดสีสังคม วัฒนธรรมข้ามพรมแดน การทําวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า โดยกําหนดประเด็นศึกษาไปที่ "วงดนตรีโปงลางสะออน” ซึ่งเป็นวงดนตรีโปงลางพื้นบ้านอีสาน และใช้เป็น ข้อมูลทางวัฒนธรรมในการอธิบายสภาพสังคมและวัฒนธรรมอีสาน การศึกษาในประเด็นดังกล่าวจะให้ภาพ ของการเปลี่ยนแปลงสังคมอีสานชัดเจนขึ้น ในขณะที่ช่วงเวลาหนึ่งขาดความนิยมไปแต่เมื่อถึงอีกช่วงเวลา หนึ่งกลับได้รับความสนใจจากผู้คน อะไรคือการสืบเนื่อง และอะไรคือจุดเปลี่ยนของ "โปงลางอีสาน" จน สามารถดึงดูดใจผู้ฟังและผู้ชม หรือเป็นกระแสนิยมของสังคมเท่านั้น ซึ่งต้องถอดหัสและตีความจาก "โปงลางอีสาน" ในฐานะเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมสามารถรับรู้ได้ด้วยจิตสํานึกหล่อหลอมเป็นประสบการณ์ ของบุคคลที่มีต่อวัฒนธรรม บางอย่างอาจถูกมองข้าม อันเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาความเป็นจริงของ สังคมซึ่งเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งทางสังคม
References
2. ธีรยุทธ บุญมี, ชาตินิยมและหลังชาตินิยม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2546.
3. ปิยพันธ์ แสนทวีสุข, ดนตรีพื้นบ้านอีสาน คีตกวี ตํานานดนตรี และการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์, 2549.
4. วีณา วีสเพ็ญ. ศิลปวัฒนธรรมอีสานสัญจร ครั้งที่ 1. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ มหาสารคาม, 2523.
5. สุกิจ พลประถม. ดนตรีพื้นบ้านอีสาน, สถาบันราชภัฏอุดรธานี, 2540.
6. สําเร็จ คําโมง, ดนตรีอีสาน ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม, 2522.
7. อมรา พงศาพิชญ์, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
8. อานันท์ กาญจนพันธ์, วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชนพลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา, เชียงใหม่ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย, 2544.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
กองบรรณาธิการฯ สงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตอบรับการตีพิมพ์ ความรับผิดชอบใดๆ เกี่ยวกับเนื้อหาและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียนต่อบทความนั้นๆ กองบรรณาธิการฯ ไม่ต้องรับผิดชอบ