ผลการใช้ชุดฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

ผู้แต่ง

  • พันนลิน วัฒโนภาศ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฎ ณ สุนทร มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ผลการใช้ชุดฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารของครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถใน การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารก่อนการฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง จํานวนทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้วยการหา ค่าความตรงและค่าความเที่ยง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และด้วยสถิติทดสอบค่าที (Pair – sample T-test) สรุปผลการวิจัย พบว่า1) ค่าประสิทธิภาพก่อนและหลังการฝึกอบรม E1/E2 มีค่าร้อยละเท่ากับ 80.20/81.48 ดังนั้นผลจากการใช้ชุดฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จึงมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้จาก 80/80 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ผลของการเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทําแบบทดสอบวัดความความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมประชาสัมพันธ์. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน. (2561). 6 เรื่อง ปฏิรูปการศึกษา พัฒนากำลังคนของไทย. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://gg.gg/jgnxr

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาในไทย. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/pdf/EDUCATION_IN_THAILAND_2017.pdf

นลิน สีมะเสถียรโสภณ, บวรลักษณ์ เกื้อสุวรรณ. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นีรนุช ศรีสวย. (2559). ผลของการใช้ชุดฝึกอบรมแบบเน้นการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาทักษะพูดภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรมของพนักงานแผนกอาหารและเครื่องดื่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. (2528). เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

หทัยวรรณ จันทร์อยู่. (2559). ผลการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกอบรมแบบสร้างเสริมประสบการณ์การพูดภาษาอังกฤษ ด้วยบริบทท้องถิ่น สำหรับมัคคุเทศก์น้อย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อรญา บำรุงกิจ. (2558). กลวิธีการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุดม นวน, สนใจ ไชยบุญเรือง และกุหลาบ ปุริสาร. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่ 25: กรณีศึกษา โรงเรียนหนองขามพิทยาคม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 7(2), 150 - 160.

Buick, D. (2016). Interdisciplinary Team Teaching to Support Twenty-First Century Learning Skills. Journal of Initial Teacher Inquiry. Volume 2. Retrieved May 17, 2020, from http://gg.gg/jgnyq

Hymes, D.H. (1972). On communicative competence. In J. B. Pride & J. Holmes (Eds.), Sociolinguistics: Selected Readings. Harmondsworth: Penguin. Retrieved May 31, 2020, from http://gg.gg/jgnz7

Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (2014). Approaches and Methods in Language Teaching. New York: Cambridge University Press. Retrieved April 30, 2020, from http://gg.gg/jgo03

Wiener, N. (1961). Cybernetics or Control and Communication in the Animal and the Machine. (2nd ed.). New York: M.I.T. Press Retrieved January 20, 2020, from http://gg.gg/jgo1a

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28