ข้อกำหนดในการส่งต้นฉบับบทความเพื่อเผยแพร่ ในวารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ
ข้อกำหนดใหม่ในการส่งต้นฉบับบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
New Requirements for submitting articles for publications in T.L.A.Bulletin, Thai Library Association
ทั้งในส่วนการเตรียมเนื้อหาบทความ การจัดทำรายการอ้างอิง เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ต้องการส่งบทความเพื่อแผยแพร่ในวารสารห้องสมุดฯ
เนื้อหาของบทความ
1. เป็นบทความในวิชาชีพด้านบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2. เป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษต้องผ่านการอ่านและประเมินความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ และยอมรับการให้ลงพิมพ์โดยกองบรรณาธิการ
3. ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาบทความที่จะได้รับลงพิมพ์
4. ต้องผ่านการอ่านและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องนั้น ๆ และยอมรับให้ลงพิมพ์โดยกองบรรณาธิการ
5. ผู้เขียนต้องยินดีให้เผยแพร่บทความนี้ในเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ และ เว็บไซต์วารสารบนระบบ ThaiJO ของ TCI
การเตรียมต้นฉบับ
1. ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียนทุกคน อีเมล ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน/ที่อยู่ของผู้เขียนบทความอย่างชัดเจน (ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ)
2. บทคัดย่อความยาวประมาณ 200 คำ พร้อมคำสำคัญ 3-5 คำ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. ต้นฉบับบทความต้องมีความยาวประมาณ 15 หน้ากระดาษ A4 ใช้ตัวอักษรแบบ Angsana New ขนาด 16 point ระยะการจัดหน้า จากบน 1.5 นิ้ว ท้าย 1 นิ้ว ซ้าย 1 นิ้ว ขวา 1 นิ้ว พร้อมทั้งส่ง file บทความทางอีเมล tla.bullentin@gmail.com และ rungtipho@gmail.com และ/หรือ ระบบ Thaijo
4. เนื้อหาบทความ ประกอบด้วย บทนำ ส่วนเนื้อเรื่อง บทสรุป และเอกสารอ้างอิง
การอ้างอิงในเนื้อเรื่องและรายการอ้างอิง
ใช้วิธีการอ้างอิงตามรูปแบบ APA ฉบับล่าสุด แต่ละรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหา จะต้องมีรายการอ้างอิงที่สมบูรณ์ปรากฏอยู่ในรายการอ้างอิง หรือบรรณานุกรม ท้ายบทความ
ทุกบทความ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ รายการอ้างอิงทุกรายการทั้งในเนื้อเรื่องและท้ายบทความ ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ หากเอกสารที่ใช้อ้างอิงเป็นภาษาไทย ต้องแปลหรือทับศัพท์แบบถอดอักษร (Transliterate) และให้ระบุท้ายรายการว่า [In Thai]
การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้แต่ง และปีที่พิมพ์ของเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้างอิง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และอาจระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างด้วยก็ได้
ตัวอย่าง
Maxwell (2013) … หรือ … (Maxwell, 2013)
Agosto & Hughes-Hassell (2005) … หรือ … (Agosto & Hughes-Hassell, 2005)
Tuamsuk, Kwiecien, & Sarawanawong (2013) … หรือ … (Tuamsuk, Kwiecien, &
Sarawanawong, 2013)
Browne et al. (2015) … หรือ … (Browne et al., 2015)
University of Technology, Sydney (2015) หรือ (University of Technology, Sydney, 2015)
รายการอ้างอิง ให้รวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ใช้รูปแบบการลงรายการตามระบบ APA ฉบับล่าสุด
ตัวอย่าง
- หนังสือ
Maxwell, R. L. (2013). RDA and serials cataloguing. London: Facet Publishing.
Wipawin, N.,¬¬ & Premkamolnetr, N. (2008). Library innovation and knowledge management. Bangkok:
CAT Solutions. [In Thai]
- บทความวารสาร
Sacchanand, C. (2015). Internationalization of library and information science education in Thailand. TLA
Research Journal, 8(2), 1-19. [In Thai]
Tuamsuk, K., Kwiecien, K., & Sarawanawong, J. (2013). A university library management model for
students’ learning support. International Information & Library Review, 45, 94-107.
- เอกสารการประชุมวิชาการ
Sturges, P., & Gastinger, A. (2013). The information literate brain. In S. Kurbanoğlu, et al. (Eds.), Worldwide
commonalities and challenges in information literacy research and practice (pp. 31-40), European Conference on Information Literacy, Istanbul, Turkey.
- บทความหรือบทในหนังสือ
Browne, M., Plovnick, C., Palmer, C., & Caldwell, R. (2015). Framing a topic for library research.
In P. Bravender, H. McClure, and G. Schaub (Eds.), Teaching information literacy threshold
concepts: lesson plans for librarians (pp. 45-53), Chicago, IL: ACRL.
- วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์
Leenaraj, B., & Tuamsuk, K. (2012). Research support services model for Thai research University libraries
(Doctoral Dissertation, Ph.D. in Information Studies, Khon Kaen University, Thailand). [In Thai]
- เอกสารจากเว็บไซต์
University of Technology, Sydney. Center for Local Government. (2015). Regional library management
models. Summary paper prepared for the State Library of NSW. Retrieved May 13, 2015, from https://www.sl.nsw.gov.au/sites/default/files/ regional_library_models_report.pdf
รูปแบบการจัดพิมพ์
1. ขนาดของต้นฉบับ พิมพ์ในหน้ากระดาษขนาด A4 โดย ระยะการจัดหน้า จากบน 1.5 นิ้ว ท้าย 1 นิ้ว ซ้าย 1 นิ้ว ขวา 1 นิ้ว
2. รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ใช้รูปแบบอักษร Angsana New ตัวอักษรขนาด 16 พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด
การส่งต้นฉบับบทความ
ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความ (Submission) ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์วารสารบนระบบ ThaiJO ของ TCI
ที่ URL : https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin หรือส่งอีเมลมายังบรรณาธิการ ทางอีเมล tla.bullentin@gmail.com และ namtipstou@gmail.com
เกณฑ์การพิจารณาจะยึดตามแนวทาง ดังนี้
ขั้นตอนการประเมิน (Peer Review Process) บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบ Double Blind Peer Review จำนวน 3 ท่าน ต่อ บทความ ดังนี้
1) กองบรรณาธิการและ/หรือผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จะเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณา
หมายเหตุ : บทความปริทัศน์ (review article) บทความสรุปการประชุมวิชาการ (conference review) และ
บทวิจารณ์หนังสือ (book review) บรรณาธิการจะเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณา (Peer Review)
2) เกณฑ์การพิจารณาเนื้อหา กองบรรณาธิการจะรับผิดชอบตรวจสอบความถูกต้องให้ข้อคิดในด้านความมีสาระในเนื้อหา และความสัมพันธ์ระหว่างชื่อบทความและเนื้อหา
3) บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน
ประเภทของบทความ) ได้แก่
บทความวิจัย (research article)
บทความวิชาการ (academic article)
บทความปริทัศน์ (review article)
บทความสรุปการประชุมวิชาการ (conference review)
บทวิจารณ์หนังสือ (book review)
หมายเหตุ : ติดต่อประธานแผนกวารสารและสื่อวิชาการ
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ
1346 ถนนอาคารสงเคราะห์ 5 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทร. 02-736-7838, 02-734-9023, 089-893-9397
E-mail : tla2497@gmail.com, tla2497@yahoo.com
วารสารห้องสมุด ผ่านการรับรองคุณภาพและอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
บทความทุกเรื่องที่ลงตีพิมพ์จะได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
ความคิดเห็นและบทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นของผู้เขียนซึ่งมิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ
และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
การนำบทความในวารสารนี้ไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากคณะผู้จัดทำ