ห้องสมุดเฉพาะกับการจัดการความรู้

ผู้แต่ง

  • นฤมล รื่นไวย์ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

ห้องสมุดเฉพาะทาง, การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน การจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กร ดังนั้น บรรณารักษ์ในห้องสมุดเฉพาะจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้บริหารในองค์กร ได้เข้าใจถึงบทบาทของห้องสมุดเฉพาะในการที่จะดำเนินการให้มีการจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการนำความรู้ขององค์กรในด้านต่าง ๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การทำงาน เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างผ่านอินเตอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมาใช้บริการในห้องสมุด บรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะจึงต้องคิดค้นการบริการที่แสดงให้ผู้บริหารขององค์กรและผู้ใช้บริการเข้าใจว่า ห้องสมุดเฉพาะสามารถมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางความรู้ขององค์กร และสามารถดำรงบทบาทหลักในการจัดการความรู้ขององค์กรได้ ตามขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการจัดการความรู้หลัก 7 ขั้นตอน คือ การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและการแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบการประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้จะเห็นว่าบรรณารักษ์สามารถใช้ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงาน ทั้งในลักษณะร่วมประสานหรือเป็นตัวหลักได้เป็นอย่างดี

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). คู่มือแผนการจัดการความรู้. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก https://www.opdc.go.th/oldweb/thai/frame_kpi_49/handbook_2549.doc

กรมประมง. (มปป.) การจัดการความรู้. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก https://www.fisheries.go.th

Semertzaki, E. (2011). Special Libraries as Knowledge Management Centers. Cambridge: Woodhead Publishing Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-12