พฤติกรรมการเรียนรู้สารสนเทศของนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • นุชรี ตรีโลจน์วงศ์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ
  • อารีย์ ชื่นวัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช
  • อรทัย วารีสอาด ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ
  • วรัญญา นุไกร ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ

คำสำคัญ:

การรู้สารสนเทศ, พฤติกรรมการเรียนรู้สารสนเทศ, นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปืที่ 2-4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ซึ่งแปลจากแบบสอบถามที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยในโครงการรู้สารสนเทศ (Project Information Literacy) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ

          ผลการวิจัยมี 2 หัวข้อคือ พฤติกรรมการค้นคว้าเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชาต่าง ๆ และพฤติกรรมการค้นคว้าในชีวิตประจำวัน สรุปได้ดังนี้

          1.พฤติกรรมการค้นคว้าเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชาต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่าประเภทงานที่นิสิตส่วนใหญ่ได้รับมอบหมายมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่

นำเสนอผลงานในชั้นเรียนประกอบรายงาน นำเสนอผลงานด้วยวาจา รายงานเสนอหัวข้อ/เค้าโครงการศึกษาที่ต้องการทำ รายงานแสดงความคิดเห็นประเด็นต่าง ๆ และผลงานในรูปมัลติมีเดียที่ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้า ทรัพยากรที่นิสิตส่วนใหญ่ใช้เกือบทุกครั้ง คือ โปรแกรมค้นหาและบรรณารักษ์นิสิตใช้เกณฑ์ความทันสมัยในการประเมินสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลของห้องสมุดและเวิลด์ไวด์เว็บ อาจารย์ผู้สอนและเพื่อนที่เรียนด้วยกันมีส่วนในการประเมินแหล่งข้อมูล วิธีการศึกษาค้นคว้า 5 อันดับแรกที่นิสิตส่วนใหญ่ทำบ่อยครั้ง ได้แก่ วางโครงสร่างว่าจะทำงานอย่างไร วางแผนการค้นคว้า คิดหาคำค้น กำหนดปัญหา / หัวข้อแต่เนิ่น ๆ จัดการระบบข้อมูลที่ค้นหาได้ นิสิตส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต และโปรแกรมแชร์เอกสาร นิสิตเห็นความสำคัญมากในการศึกษาค้นคว้าเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมาย คือ การสอบผ่านวิชานั้น ๆ และการทำรายงานเสร็จนอกจากนั้นนิสิตส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ความยากในกระบวนการค้นคว้าทั้งหมดคือ การกำหนดหัวข้อและการเริ่มต้นทำงานที่ได้รับมอบหมาย

          2.พฤติกรรมการค้นคว้าในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยพบว่า

          หัวข้อที่นิสิตค้นคว้ามากที่สุด 5 อันดับแรกคือ ข่าว/เหตุการณ์ปัจจุบัน เรื่องที่เกี่ยวกับงานที่ต้องทำ ข้อมูลการเดินทาง ประเด็นสุขภาพ และชื้อของ ทรัพยากรที่นิสิตส่วนใหญ่ใช้เกือบทุกครั้งคือ โปรแกรมค้นหา นิสิตใช้เกณฑ์ความทันสมัยในการประเมินสารสนเทศจากเว็บไซต์เป็นอันดับแรก อาจารย์ผู้สอนละเพื่อนที่เรียนด้วยกัน มีส่วนช่วยในการประเมินแหล่งข้อมูลความยากในกระบวนการค้นคว้า 5 อันดับแรกคือ การระบุความต้องการ การหาแหล่งข้อมูล การค้นหาเว็บที่ต้องการไม่พบ การค้นหาบทความในฐานข้อมูลวิจัยในเว็บห้องสมุด การกำหนดคำค้น การต้องอ่านเอกสารที่ค้นหามาได้

          พฤติกรรมการค้นคว้าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านิสิตยังขาดทักษะการรู้สารสนเทศที่เพียงพอต่อการสึกษาและการดำรงชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน บรรณารักษ์ และผู้เกี่ยวข้อง มีความสำคัญและจำเป็นต่อการปรับปรุงและส่งเสริมสมรรถนะการรู้สารสนเทศของนิสิต

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชุติมา ยิ่งสุขวัฒนา. (2547).
ความรู้ความสามารถด้านการรู้สารสนเทศและคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระ ศส.ม. (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงกมล อุ่นจิตติ. (2546). การประเมินการรู้สารสนเทศของนิสิตปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

American Library Association. 1989. (Retrieved 2013 January 9). Information literacy competency standards for higher education. URL: http://www.ala.org/acrl/standards/informationliteracycompetency#ildef

American of College and Research Libraries. 2000. (Retrieved 2005 March 1). Information
literacy competency standards for higher education. URL: http://www.ala.org/a
la/acrl/acrlstandards/standards.pdf

Andretta, S. (2005). Information literacy: a practitioner๛s guide. Oxford: Chandos Publishing. Boekhorst, Albert K., Horton, Jr. and Forest Woody. 2010. (Retrieved 2013 January 18).

International Media and Information Literacy Survey (IMILS) guidelines. URL: http://www.albertkb.nl/ imils.html

Catts, R. and Lau, J. 2008. (Retrieved 2013 January 15). Towards information literacy indicators. Paris, UNESCO. URL: http://unesdoc.unesco.org

Duncan, Vicky and Holtslander, Lorraine. (2012). Utilizing grounded theory to explore the information-seeking behavior of senior nursing students. Journal of Medical Library Association. 100(1): 20-27.

Head, Alison J.; & Eisenberg, Michael B. 2011. (Retrieved 2011 August 25). How college students use the web to conduct everyday-life research. URL: http://firstmonday.org/htbin/cgiwrap/bin/ojs/index.php/fm/%OBarticle/view/3484/2857" http:// firstmonday.org/htbin/cgiwrap/bin/ojs/index.php/fm/%OBarticle/vi w/3484/2857


Hepworth, Mark. 1999. (Retrieved 2012 November 1). A Study of Undergraduate Information Literacy and Skills: The Inclusion of Information Literacy and Skills in the Undergraduate Curriculum. A Paper Presented at the 65th IFLA Council and General Conference, 20-28 August 1999, Bangkok, Thailand. URL: http://archive.ifla.org/ IV/ifla65/ papers/107-124e.htm

Horton, Jr., F.W. (2008). Understanding Information Literacy: A Primer. Paris: UNESCO. Email interview By Aree Cheunwattana. (2013, 9 January).

Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30: 606-610.

UNESCO. (2011a). Information Policies in Asia: Development of Indicators. Bangkok:UNESCO.

UNESCO. (2011b). Towards Media and Information Literacy Indicators: Background
Document of the Expert Meeting, 4-6 November 2010, Bangkok, Thailand.





Paris: UNESCO. Webber, Sheila; & Johnston, Bill. (2000). Conceptions of Information Literacy: NewPerspectives and Implications. Journal of Information Science. 26(6): 381-397.

Wired Campus: Students Lack ๙Information Literacy๛. 2006. (Retrieved 2009 January 31). The Chronicle of Higher Education. URL: https://chronicle.com/blogs/wiredcampus/students-lack-information-literacy/2613 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-16