การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S สาระที่ 3 นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 s, นาฏศิลป์, ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S สาระที่ 3 นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S ได้แก่ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนสฤษดิเดช อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน หลักการสำคัญของรูปแบบ วัตถุประสงค์ กระบวนการและขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ บรรยากาศ องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผล
- ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 S มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำเสนอสิ่งเร้า (Stimulus) ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมความพร้อม (Start) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน (Step) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอผลงานและประเมิน (Star)
- ผลการเปรียบเทียบ ทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่ามีคะแนนก่อนเรียนสูงกว่าของกลุ่มตัวอย่าง โดยมีผลคะแนนทดสอบด้านทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย 52 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 17.01 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 6.76 หลังเรียน
มีค่าเฉลี่ย 14.58
References
2. ชนัย วรรณะลี. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติต่อหน่วยการเรียนการสอนของนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2539.
3. บุญสม สุขุมาลพงษ์. พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ผู้สอนวิชาเอกนาฏศิลป์ในสถาบันราชภัฏอุดรธานี ตามทัศนะของนักศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2536.
4. บุษกร พรหมหล้าวรรณ. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2549.
5. พจน์มาลย์ สมรรคบุตร. แนวการคิดประดิษฐ์ท่ารำเซิ้ง. อุดรธานี: ภาควิชานาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุดรธานี, 2538.
6. รัตนะ บัวสนธ์. วิจัยและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครสวรรค์: โรงพิมพ์ริมปิง, 2554.
7. สมหวัง คุรุรัตนะ. เอกสารคำสอนการออกแบบและพัฒนากระบวนการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2539.
8. สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และพรรณี สินธพานนท์. พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2551.
9. สุจริต เพียรชอบ. การพัฒนาการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
10. สุภา พิมพาแป้น. การสร้างแบบฝึกพัฒนาความสามารถการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา, 2546.
11. โสภา กิมวังตะโก. การสร้างหน่วยการเรียนการสอนเรื่องฉุยฉายพราหมณ์สำหรับนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2533.
12. อติพร สุขสมนิตย์. อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอนวิชาดนตรี - นาฏศิลป์ ในระดับประถมศึกษาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2543.
13. อุษา สบฤกษ์. การศึกษาพฤติกรรมการสอนนาฏศิลป์ไทยในวิทยาลัยนาฏศิลป. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
14. อัจฉรา ชีวพันธ์. กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในชั้นประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2535.
15. Joyce, B., and M. Weil. Model of teaching 7th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice–Hall, 2004.
16. Saylor, J. G. Curriculum planning for better teaching and learning. 4thed. Japan: Holt–Saunders International Edition, 1981.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย