ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
บริหารทรัพยากรบุคคล, ความพึงพอใจ, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ขนาดตัวอย่างเป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.96, S.D.=0.60) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร คือ ภาวะผู้นำ การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติราชการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีอำนาจการพยากรณ์ ร้อยละ 65 สามารถเขียนสมการณ์พยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ ความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคล = 0.243 + 0.402 (ภาวะผู้นำ) + 0.119 (การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน) + 0.341 (การประเมินผลการปฏิบัติราชการ)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Zความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคล = 0.407Zภาวะผู้นำ + 0.116Zการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน + 0.360Zการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
2. ความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ที่มีสถานภาพส่วนบุคคล เพศ อายุ อายุราชการ และการดำรงตำแหน่งปัจจุบัน ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
2. ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน, การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์, 2556.
3. ธงชัย สันติวงษ์. พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
4. ธีรพงษ์ บูรณวรศิลป์. “ผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ตามความรับรู้ของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี,”. วารสารวิทยบริการ. 21, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2553): 110-126.
5. นิศราวรรณ รักโครต. การบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ภาคนิพนธ์ รป.ม. (นโยบายสาธารณะ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
6. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์นจำกัด, 2556.
7. พะยอม วงศ์สารศรี. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2538.
8. รุ่ง แก้วแดง. รีเอ็นจิเนียริงระบบราชการไทย: ข้อเขียนจากประสบการณ์การบริหารงาน. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์มติชน จำกัด (มหาชน), 2542.
9. อัมพร เพชรโชติ. กระบวนการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามทัศนะของครูหัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2553.
10. อานันต์ ศิริ. การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. โครงการวิชากร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน, 2556.
11. อุทัย หิรัญโต. หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2531.
12. Pallant, Julie. SPSS Survival Manual : a step by step guide to data analysis using SPSS. 2nd ed. Crows Nest, N.S.W.: Allen & Unwin, 2005.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย