การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวสะเต็มศึกษา เรื่องดินในท้องถิ่นของเรา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวสะเต็มศึกษา เรื่องดินในท้องถิ่นของเรา
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีค่าเท่ากับ 85.36/84.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 - นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษา มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65
References
ฉัตรชัย เครืออินทร์. (2557). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุแบบสะเต็มศึกษา (STEM education) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. รายงานผลการประชุมวิชาการระดับชาติ “ศึกษาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตป้ตตานี วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2557. โรงแรมหรรษา เจบี อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.
Kruein, C. (2014). The format of learning activities for science subjects Material and properties of material STEM education of Prathom Suksa 5 students. Proceeding of the 1st National Academic Research Conference, Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 29-30 May 2014. Hansa JB Am Hotel, Hat Yai District, Songkhla Province. [in Thai].
พูนสุข อุดม. (2553). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Udom, P. (2010). Science Teaching and Learning in Basic Schools. Bangkok: Branch Curriculum and Instruction Faculty of Education Thaksin University. [in Thai].
ฟัตมาอัสไวนี ตาเย๊ะ, ณัฐินี โมพันธุ์ และมัฮดี แวดราแม. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 1-14.
Tayea, F., Mophan, N.,& Waedrama, M. (2017, July-December). Effect of STEAM education on science learning achievement, creative thinking and satisfaction of grade 5 students towards the learning management. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(2), 1-14. [in Thai].
ภัสสร ติดมา, มลิวรรณ นาคขุนทด และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558, กันยายน - ธันวาคม). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง STEM Education เรื่องระบบของร่างกายมนุษย์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์, 13(3), 71-76.
Tidma, P., Nakkuntod, M., & Kijkuakul, S. (2015, September - December). STEM Education in Topic of Human Systems to Promote Creative Thinking of 8th Grade Students. Ratchaphruek Journal, 13(3), 71-76. [in Thai].
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์. อุบลราชธานี: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
Ubon Ratchathani Rajabhat University Demonstration School. (2018). Science Learning Achievement. Ubon: Ubon Ratchathani Rajabhat University Demonstration School Office of the Higher Education Commission. [in Thai].
วรรณา รุ่งลักษมีศรี. (2551). ผลของการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
RungLakshmi, W. (2008). Effects of instruction emphasizing engineering design process on scientific problem solving ability and integrated science process skills of lower secondary school students in demonstration schools (Master of education thesis, program in Science Education). Chulalongkorn University, Bangkok. [in Thai].
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
Phanich, W. (2015). Ways to Create Learning for Students in the 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. [in Thai].
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). สถิติ O-NET ย้อนหลัง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
National Institute of Educational Testing Service (Public organization). (2018). O-NET statistics, 2017-2021. Bangkok: National Institute of Educational Testing Service (Public organization). [in Thai].
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2014). Basic knowledge stem. Bangkok: Institute for Promotion of Teaching Science and Technology, Ministry of Education. [in Thai].
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). Summary of Economic Development Plan And the National Society, Issue 11, 2017-2021. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. [in Thai].
อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
Thongchai, A. (2013). Stem Education and Science Education Development Technology, Engineering and Mathematics In the United States (Research report). Bangkok: Science Teacher Association Mathematics and Technology of Thailand. [in Thai].
National Research Council (2011). Knowing what students know: The science and design of educational assessment. Committee on the Foundations of Assessment. J. Pellegrino, N. Chudowsky, & R. Glaser (Eds). Washington, DC: National Academy Press.
Good, C.V. 1973. Dictionary of education. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.
Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย