การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พิชญา สืบนุการณ์
  • ชวนชัย เชื้อสาธุชน
  • เชาวน์ประภา เชื้อสาธุชน

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาสตร์ ตัวแปรที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดศรีสะเกษ และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ในจังหวัด
ศรีสะเกษ จำนวน 445 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบแบบเลือกตอบ 7 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความถนัดด้านภาษา แบบทดสอบวัดความถนัดด้านจำนวน แบบทดสอบวัดความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ แบบทดสอบวัดความถนัดด้านความจำ และแบบทดสอบวัดความถนัดด้านเหตุผล มีค่าความเชื่อถือได้ ตั้งแต่ .920 ถึง .970 แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราการประเมิน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์และแบบวัดความสัมพันธ์กลุ่มเพื่อน มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ .985 และ .980 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้ Structural Equation Model

ผลการวิจัยพบว่า    

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และอิทธิพลของตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มีดังนี้ ความถนัดด้านภาษา มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมผ่านความรู้พื้นฐานเดิมและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความถนัดด้านจำนวน มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านความรู้พื้นฐานเดิม ความถนัดด้านมิติสัมพันธ์มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความรู้พื้นฐานเดิมและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความถนัดด้านความจำมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมผ่านความรู้พื้นฐานเดิมและจิตวิทยาศาสตร์  ความถนัดด้านเหตุผลมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ความสัมพันธ์กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความรู้พื้นฐานเดิมและจิตวิทยาศาสตร์ ความรู้พื้นฐานเดิมมีอิทธิพลทางตรง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมผ่านความรู้พื้นฐานเดิม และจิตวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

References

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555.
คนึงนิจ พันธุรัตน์. การศึกษาตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.
จันทนี เทือกทอง. ตัวแปรพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.
ดำเนิน ยาท้วม. ผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวัฎจักรการเรียนรู้ร่วมกับการสะท้อนอภิปัญญา และวัฏจักรการเรียนรู้ร่วมกับการสะท้อนอภิปัญญาและความตระหนักรู้. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
ทิศนา แขมมณี . ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
ปาริชาติ เบ็ญจวรรณ. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
พิชญา สืบนุการณ์. การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2556.
วัชรา จรูญผล และคนอื่นๆ. การวิเคราะห์พหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2549.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2546.
. ปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554.
สุขกฤษ์ ดีโนนโพธิ์. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2554.
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์, 2552.
อัจฉรา บุญสุข. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2553.
Bloom, Benjamin S. Human Characteristics and School Learning. New York : McGraw – Hill Book Company, 1976.
Glassman, Naftaly S. and Biniaminov, Israel. “Input-Output. Analysis of School,” Review of Educational Research. 51(Winter 1981) : 509-539.
Harnischfeger, Anegret and Wiley, David E. “Conceptual Issues in Model of School Learning,” Journal of Curriculum Studies. 10(April 1978) : 215 – 231.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-27

How to Cite

สืบนุการณ์ พ., เชื้อสาธุชน ช., & เชื้อสาธุชน เ. (2021). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดศรีสะเกษ. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 3(1), 50–60. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/250929