ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิด เชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 22-32
คำสำคัญ:
ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล, ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, นักเรียนมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังของกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 68 คน จำนวน 2 กลุ่ม แยกเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู กลุ่มละ 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผน การจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และ ANCOVA
ผลการวิจัยพบว่า
- นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.
ทิศนา แขมมณี. การพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บูรพาการพิมพ์, 2533.
. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
ธนวัฒน์ คำเบ้าเมือง. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แรงจูงใจ
ใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหา
เป็นฐานกับแบบปกติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.
เบญจมาศ เทพบุตรดี. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) และ
การจัดการเรียนรู้ตามปกติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550.
ไพลิน สว่างเมฆารัตน์. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2552.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. “การส่งเสริมกระบวนการคิดโดยใช้ PBL,” วารสารวิทยาจารย์. 105 (มกราคม 2549):
42-43.
ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยประยุกต์แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความ สามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
รัชนีวรรณ สุขเสนา. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการเรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550
วิชาการ, กรม. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การค้ารับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์, 2545.
. ทักษะการคิด. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ, 2542.
. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ, 2544
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. คู่มือการวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.
สลิลทิพย์ ชำปฏิ. ผลการสอนที่เน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.
สายใจ จำปาหวาย. ผลการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและรูปแบบสสวท เรื่อง บทประยุกต์ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.
Delisle, Robert. How to use Problem-Based Learning in the Classroom. Alexandria, Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development, 1997.
National Council of Teacher Mathematics (NCTM). Curriculum and Evaluation Standard. United States of America: National Council of Teacher of Mathemmatics Inc, 1989.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้มีการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแล้ว ไม่เกินร้อยละ 25
2. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นข้อคิดเห็น ข้อค้นพบของผู้เขียนบทความ โดยผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น ๆ
3. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานีก่อนเท่านั้น และจะต้องมีการอ้างอิงวารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี ฉบับนั้น ๆ ด้วย