ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของ Polya 11-18

ผู้แต่ง

  • ธัญญพัทธ์ รติกุลฐิตินันท์
  • รสวลีย์ อักษรวงศ์

คำสำคัญ:

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ, จิตวิทยาศาสตร์, การสอนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น, เทคนิคการแก้ปัญหาของ Polya

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอน 2 แบบ คือ แบบที่ 1 การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และแบบที่ 2 การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของ Polya 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนทั้ง 2 แบบ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพนมดงรักวิทยา อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 2 ชุด ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.57 - 0.79 ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.31- 0.80 และค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.618 และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.22 - 0.96 และ
ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.755

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของ Polya มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและจิตวิทยาศาสตร์สูงกว่าแบบการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
  2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 แบบ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

 

References

จักรพันธ์ พิรักษา. การเปรียบเทียบกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้
7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของ Polya กับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
ตะวัน เทวอักษร. School in Focus. กรุงเทพฯ: คอมฟอร์ม, 2555.
ทัศวรรณ ภูผาดแร่. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับกิจกรรม ทำนาย-สังเกต-อธิบาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2556.
นฤมล รอดเนียม. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2554.
นุชรีย์ แนวเฉลียว. ผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.
ปาริชาติ คงศรี. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ
ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2553.
พิชญาภา สีนามะ. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่องกำหนดการเชิงเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และคนอื่น ๆ. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป, 2545.
พิมพ์สรณ์ ตุกเตียน. ผลการใช้วิธีสอนแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการจับกลุ่มแบบรายบุคคล (TAI) ต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2552.
วิชาการ, กรม. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.
ศิริกุล พลบูลณ์. การเปรียบเทียบผลการเรียนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยใช้เทคนิคการรู้คิด และแบบ
วัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ที่มีต่อแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยาเรื่อง เซลล์ การแบ่งเซลล์และการเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์และการคิดวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีเพศต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546.
สนิท ศิริ. ผลการใช้ชุดการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536.
สมจิต สวธนไพบูลย์ และคนอื่น ๆ. รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการค้นคว้าวิทยาศาสตร์สู่การสื่อสารแบบสร้างสรรค์บนอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
สุภิญ พิทักษ์ศักดากร. การสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาของโพลยาในโรงเรียนปรินซ์รอแยลวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541.
สุวัฒน์ นิยมค้า. ทฤษฎีและทางปฏิบัติในการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้. กรุงเทพฯ: เจเนอรัลบุคส์เซ็นเตอร์ จำกัด, 2531.
หัสชัย สะอาด. การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ที่เรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รำไพพรรณี, 2552.
อัญชลี สุเทวี. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลกับการสอนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554.
Eisenkraft, A. “Expanding the 5E Model : A Proposed 7E Model Emphasizes Trans of Learning and the Importance of Eliciting Prior Understanding,” The Science Teacher. (serial online). 70,60 (September 2003): 56 – 59.
Peterson, Kenneth D. Science Inquire Training for High School Students,” Journal of Research in Science Teaching. 15,3 (March 1978): 153.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-29

How to Cite

รติกุลฐิตินันท์ ธ., & อักษรวงศ์ ร. . (2021). ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของ Polya 11-18. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 5(2), 11–18. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/251008