ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการสอบวัดความรู้ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 19-28

ผู้แต่ง

  • ธิดาทิพย์ อุทธา
  • รสวลีย์ อักษรวงศ์

คำสำคัญ:

ความเครียด, การสอบวัดความรู้ระดับชาติขั้นพื้นฐาน, การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเครียดในการสอบวัดความรู้ระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  2) เปรียบเทียบระดับความเครียดในการสอบของนักเรียนที่มาจากโรงเรียนที่มีขนาดและแหล่งที่ตั้งแตกต่างกัน 3) ศึกษาตัวพยากรณ์ที่ดีของความเครียดและสร้างสมการพยากรณ์ความเครียดในการสอบ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดจำนวน 13 ฉบับ ความเชื่อมั่นระหว่าง 0.62 - 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำ (=2.04, SD = 0.99)
  2. นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีความเครียดต่ำกว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียนที่มาจากโรงเรียนในเมืองและนอกเมืองมีความเครียดไม่แตกต่างกัน
  3. ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีของความเครียดคือบุคลิกภาพแบบเอ (BEHA) การอบรมเลี้ยงดูแบบอำนาจนิยม (AUTH) ความคาดหวังของผู้ปกครอง (EXP) ความพร้อมในการสอบ (RDY) การจัดการความเครียดที่มุ่งจัดการกับอารมณ์ (EFC) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (ACH) สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้

                 = 28.377 +1.813 XBEHA + 1.188 XAUTH - 1.184XEXP - 0.563 XRDY +1.125 XEFC -0.746 XACH

                  = 0.301 ZBEHA + 0.298 ZAUTH  - 0.261 ZEXP - 0.130 ZRDY + 0.229 ZEFC - 0.162 ZACH

References

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29, สำนักงาน. รายงานผลการสอบวัดความรู้ระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O– NET) ปีการศึกษา 2554. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29, 2554.
ชนินทร์ เจริญไชย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาระบบใหม่ (Admission) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.
ธัญญา เรืองแก้ว. “การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) สำคัญอย่างไร,” วารสารวิชาการ 10, 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2550): 79.
นัยนา เหลืองประวัติ. ผลของการใช้วิธีการจัดการกับความเครียดโดยการฝึกสมาธิ การคิดแบบอริยสัจ และ
การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ เพื่อการจัดการกับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครนทรวิโรฒ, 2547.
เนตรนารี ท้าวโสม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2555.
ปฐมพร กิจวรรณี. การศึกษาผลกระทบของระบบแอดมิสชั่นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 เขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2552.
ประวิต เอราวรรณ์. ชี้โอเนตต่ำเพราะเด็กเบื่อสอบนักเรียนชนบทไม่สนใช้แต้มเลื่อนชั้น สะท้อนสอน - ประเมิน
ไม่สอดคล้อง. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 8 สิงหาคม 2559). จาก: http://campus.sanook.com /1370985/
ปัทมา อินทร์พรหม และชัยชนะ นิ่มนวล. ความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ในการสอบคัดเลือก
เข้ามหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
ลักขณา สริวัฒน์. จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2544.
วราภรณ์ มุละชีวะ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการเตรียมตัวสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2547.
วิภาวัลย์ ภูอาราม. การเปรียบเทียบความวิตกกังวลและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีสัมพันธภาพในกลุ่มเพื่อนและการเห็นคุณค่าในตนเองแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.
ศิลป์ธรณ์ ดำเพ็ง. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลตอคะแนน (O-NET)ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ : กรณีศึกษาโรงเรียนในอำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.
สุนิสา ตะสัย. ความเครียดและการแก้ปัญหาความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2550.
สุพล อนามัย. การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1. สารนิพนธ์การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.
สุภาภัทร ทนเถื่อน. ศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีคนรินทรวิโรฒ, 2553.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
อัจฉรา ระตะนะอาพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2546.
อาซาน ตนย่าหมัด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและการจัดการความเครียดของนักเรียนโรงเรียนสอนศาสนาเอกชนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2556.
อารียา ทรงสิทธิโชค. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ ความเครียด และพฤติกรรมการใช้สิ่งเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549.
Wang H. F. and M. C. Yeh. “Stress, Coping, and Psychological Health of Vocational High School Nursing Students Associated with a Competitive Entrance Exam,” The Journal of Nursing Research: JNR (J Nurs Res). 13 (2005): 106-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-29

How to Cite

อุทธา ธ. . ., & อักษรวงศ์ ร. . (2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการสอบวัดความรู้ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 19-28. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 5(2), 19–28. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ubonreseva/article/view/251009