สถานการณ์และผลกระทบที่เกิดจากการพนันในนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชูชีพ ประทุมเวียง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ชญาดา ดานุวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สุภัชญา ธานี คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพนันออนไลน์, นิสิตนักศึกษา, ปัจจัยในการเล่นการพนัน, พฤติกรรมเกี่ยวกับการเล่นการพนัน, ทัศนคติเกี่ยวกับการเล่นการพนัน, ข้อมูลข่าวสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและการเล่นการพนันประเภทต่างๆ ของนักศึกษาที่พักในและรอบสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเล่นการพนันประเภทต่างๆ ของนักศึกษาที่พักในและรอบสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 3) เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเล่นการพนันของนักศึกษาที่พักในและรอบสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 4) เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันนักพนันหน้าใหม่ และลดผลกระทบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 554 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มเป้าหมาย สัมภาษณ์เชิงลึก นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 12 คน สนทนากลุ่ม นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบและการเล่นการพนันประเภทต่างๆ 1.1 เกม ลักษณะเล่นแบบออนไลน์ 1.2 ฟุตบอล เล่นแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ และไม่ออนไลน์คือเล่นที่โต๊ะฟุตบอล 1.3 คาสิโน เล่นแบบออนไลน์ มีวิดีโอ live 1.4 หวย การเล่นหวยใต้ดิน คือ ส่งเลขให้เจ้ามือผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือโทรซื้อ หวยออนไลน์ เล่นหวยหุ้น เล่นตามตลาดหุ้น 1.5 การค้าชิงโชคหรือลุ้นรางวัล ชิงโชคที่ตน ญาติ พี่น้องหรือเพื่อนเข้าร่วมลุ้นรางวัล การซื้อสินค้าเพื่อลุ้นรางวัล การส่งเอสเอ็มเอสลุ้นรับรางวัล 2) ความชุกของการเล่นการพนันออนไลน์ พบ ความชุกร้อยละ 17.5 กลุ่มตัวอย่างส่งข้อความร้อยละ 18.8 เล่นเกม/การพนันออนไลน์ทุกวัน โดยใช้ช่วงเวลาเลิกเรียน ระยะเวลาในการเล่นอย่างน้อยประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถึง 4-5 ชั่วโมง เล่นนานสุดต่อเนื่อง 2-3 วันโดยไม่นอน การส่งข้อความสั้นเพื่อชิงโชคหรือลุ้นรางวัล พบว่าผู้กลุ่มตัวอย่างส่งข้อความร้อยละ 18.8 ส่วนความถี่ของการส่งข้อมูลพบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีส่งทุกวันมากที่สุดร้อยละ 61.5-94.8 3) ผลกระทบจากการเล่นการพนันของนักศึกษา ด้านบวกมีทั้งด้านเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สนุกสนาน อารมณ์ดี ทางสังคมมีเพื่อนจากหลายประเทศ ทางสมองเพิ่มพูนความรู้ และทักษะภาษาอังกฤษ การคิด การแก้ไขปัญหา มีรายได้จากการขายไอเท็ม รับจ้างเล่นไต่เลเวล งานพาร์ทไทม์ในร้านเกมส์หรือรางวัล ผลเสีย เช่น เสียสุขภาพ พักผ่อนน้อย ไม่เต็มที่กับการเรียน ไม่มีเวลาให้ครอบครัว มีความสามารถในการทำงานน้อยลงเสียสุขภาพจิต หัวร้อน 4) แนวทางในการป้องกันนักพนันหน้าใหม่ และลดผลกระทบ ตระหนักรู้ถึงผลเสียต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต เสียเงิน ภาระหน้าที่เพิ่มขึ้น มีเป้าหมายในชีวิต โปรแกรมโกงเยอะ การบังคับกฎหมาย หรือมาตรการทางสังคม

References

กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2554 ). เยาวชนกับการพนัน ปัจจัยเสี่ยง ความเปราะบางและผลกระทบทางสังคม : ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน
พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล. (2555). การพนันออนไลน์ บททดสอบครั้งใหม่ของสังคมไทย.จุลสารทันเกม. 2, 6-7
ไพศาล ลิ้มสถิตย์.รายงานวิจัยโครงการ การพนันออนไลน์ การทายผลฟุตบอล การเล่นเกมส์ ออนไลน์ : ปัญหาในการปรับใช้ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 . รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการ ความรู้เพื่อขับเคลื่อนสังคมปลอดพนัน มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ,2555.
วิษณุ วงค์สินศิริกุล.(2554).รายงานวิจัยโครงการ เกมพนันออนไลน์: หายนะเกมพนันที่ต้องควบคุม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะ. (2546) เศรษฐกิจการพนัน: ทางเลือกเชิงนโยบาย, กรุงเทพฯ: สำนักงานสลาก กินแบ่งรัฐบาล เดือนมีนาคม.
เสริน ปุณณะหิตานนท์ และคณะ. (2531). การศึกษาแนวความคิดและพฤติกรรมเกี่ยวกับการพนันของเด็ก และเยาวชน. สำนักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ.
Aasved, M. (2003). The sociology of gambling. Springfield III: Charles C. Thomas.
Hardoon, K.K. & Derevensky, J.L. (2006). Child and adolescent gambling behavior: Current knowlegde. Clinical sciences psychology ans psychiatry, 7, 201–213.
Winters, K.C., Stingfield, R.D., Botzt, A. & Anderson, N. (2002). A prospective study youth gambling behavior. Psychology of addictive behaviors, 16, 3–9.Allen, R. and Santrock, J.w. Psychology ะ The Contexts of Behavior. United state of America : Wm. c.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05