ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง
การเตรียมต้นฉบับ
พิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ต้นฉบับด้วยกระดาษขาว เอ 4 ภาษาไทยใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK ภาษาอังกฤษใช้ Timer New Roman ผลงานวิชาการทุกประเภทต้องประกอบด้วย
(1) ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและอังกฤษ (2) ชื่อสถานที่ทำงานและที่อยู่ ของผู้เขียนครบทุกคน (3) สถานที่ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล (4) บทความวิชาการ ต้องมีบทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป และรายการอ้างอิง (5) บทความวิจัย ให้ระบุบทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีวิจัย ผลการวิจัยและอภิปรายผล รายการอ้างอิง (ดูรูปแบบการเขียนบทความลงวารสารใน UMT – POLY JOURNAL ฉบับล่าสุด)
การอ้างถึงและรายการอ้างอิง
ผู้เขียนต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่องโดยใช้การอ้างถึงระบบนามปี และในรายการอ้างอิงตามกฎของ APA Style ฉบับล่าสุด เช่น
เอกสารอ้างอิง (References) (TH SarabunPSK 14 ตัวหนา)
วิธีเขียนอ้างอิง ใช้รูปแบบ APA 6th Edition ตัวอย่างการอ้างอิง ดังนี้
การอ้างอิงงานวิจัยภาษาไทย เรียงตามตัวอักษร ก-ฮ (TH SarabunPSK 14 ตัวบาง กระจายแบบไทย) เช่น
กรณีอ้างอิงบทความจากวารสาร (TH SarabunPSK 14 ตัวบาง, ชื่อวารสารกับปีที่ ตัวเอียง)
ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ และวีรสันต์ เข็มมณี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าสอบบัญชีระหว่างการใช้รายงานผู้สอบบัญชีแบบใหม่ในประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 3(7), 34-47.
กรณีอ้างอิงบทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ (TH SarabunPSK 14 ตัวบาง, ชื่องานวิจัย ตัวเอียง)
พรอนงค์ บุษราตระกูล และสุนทรี เหล่าพัดจัน. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนกรรมการ ระดับของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564, จาก https://www.set.or.th/ th/setresearch/database/cg_database.html?printable=true
กรณีอ้างอิงงานวิจัย จากการค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ (TH SarabunPSK 14 ตัวบาง, ชื่องานวิจัย ตัวเอียง)
วีรวรรณ ราโช. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
การอ้างอิงงานวิจัยภาษาอังกฤษ เรียงตามตัวอักษร A-Z (TH SarabunPSK 14 ตัวบาง กระจายแบบไทย) เช่น
กรณีอ้างอิงบทความจากวารสาร (TH SarabunPSK 14 ตัวบาง, ชื่อวารสารกับปีที่ ตัวเอียง)
Bills, K. L., Lisic, L. L. & Seidel, T. A. (2017). Do CEO succession and succession planning affect stakeholders’ perceptions of financial reporting risk? evidence from audit fees. Accounting Review, 92(4), 27-52.
กรณีอ้างอิงบทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ (TH SarabunPSK 14 ตัวบาง, ชื่องานวิจัย ตัวเอียง)
Hribar, P., Kim, J., Wilson, R. & Yang, H. (2012). Counterparty Responses to Managerial Overconfidence. Singapore Management University. Retrieved from https://ink.library.smu.edu.sg/cgi/viewcontent.cgi?article=2164& context=soa_research.
กรณีอ้างอิงงานวิจัย จากการค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ (TH SarabunPSK 14 ตัวบาง, ชื่องานวิจัยกับปีที่ ใช้ตัวเอียง)
Washburn, M. (2017). The effect of Auditing Standard no. 5 on audit delay and audit fees. (Doctoral dissertation). Nova Southeastern University. U.S.A.
บทบาทหน้าของผู้เขียน
1. ผลงานของผู้เขียนต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำข้อความใด ๆ มาใช้ในผลงานของตนเอง รวมทั้งต้องทำเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความ
3. ผู้เขียนต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในวารสาร
4. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
5. ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง
6. ผู้เขียนต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์นแล้ว
7. หากมีการวิจัยในมนุษย์ หรือสัตว์ทดลอง ผู้เขียนจะต้องแนบหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัยในมนุษย์ หรือสัตว์ทดลองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือคณะกรรมการพิจารณา
จริยธรรมการใช้สัตว์ทดลองตามแต่กรณี และระบุหมายเลขหรือรหัสการรับรองลงในบทความ
ขั้นตอนการส่งบทความตีพิมพ์
- การส่งบทความเข้าระบบ ThaiJo
- ผู้วิจัยจัดรูปแบบบทความตามรูปแบบมาตรฐานที่วารสารกำหนด
- สมัครสมาชิกที่ Thai Journal
- ส่งบทความผ่านระบบ ThaiJo ตามลิงค์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly
- การพิจารณาเบื้องต้น
2.1 กองบรรณาธิการพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2.2 ตรวจสอบความถูกต้องของบทความและเอกสารแนบ
2.3 ตรวจสอบการคัดลอกวรรณกรรม ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
- กองบรรณาธิการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแบ่งกลุ่มตามความเชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พิจารณาให้คำแนะนำ (double blinded)
- กองบรรณาธิการ แจ้งผลการประเมินเพื่อให้ผู้วิจัยแก้ไขบทความ ตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ
- ผู้วิจัยแก้ไขบทความตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ
- กองบรรณาธิการตรวจทานการแก้ไขงานวิจัย
- ชำระเงินค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ ผ่าน 2 ช่องทาง
- งานการเงินชั้น 1 ตึกอธิการ หรือ
- โอนเงินเข้าธนาคารกรุงเทพ (กระแสรายวัน) เลขที่บัญชี 256-3-06112-2
อัตราค่าธรรมเนียม
วารสารดำเนินการเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากทีมกองบรรณาธิการในขั้นตอน Submittion
- บุคคลภายนอก 6,300 บาท
- บุคคลภายใน 3,300 บาท
ช่องทางการส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ umtpoly.journal@umt.ac.th
- เผยแพร่บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ตามรอบปี
การปฏิเสธการตีพิมพ์
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมในกรณีดังต่อไปนี้ 1.ผู้นิพนธ์ไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของผลงานตามที่วารสารกำหนด 2.ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (แจ้งเตือน 2 ครั้ง)