ความคิดเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย ทองคำพันธุ์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์บัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ความคิดเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์อัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น   และเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)    ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi structured Interview : SSI) เพื่อสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่นแนวทางการสัมภาษณ์ (Interview Guied) แนวทางการสังเกต (Observation Guied) แบบจดบันทึกข้อมูลภาคสนาม กล้องบันทึกภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลและวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น บัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของสังคมควรเป็นบัณฑิตที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ด้านวิชาการควบคู่กับการมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อที่จะสามารถ นำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จ และต้องมีคุณธรรมในการทำงานด้วยความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ขยันพากเพียร อดทน หนักเอาเบาสู้ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค รักการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง เห็นประโยชน์แก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน มีความเป็นประชาธิปไตยและรู้จักสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม สถาบันอุดมศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมมีความเที่ยงธรรมและยุติธรรม มีความเสียสละขยันในการทำงานมีจิตอาสาในการช่วยเหลือสังคม มีความเสียสละ และจิตอาสา มองเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากว่าส่วนตนมีความเสียสละที่เป็นผู้ให้และผู้รับ ยึดมั่นอยู่บนความมีคุณธรรมจริยธรรมและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมได้

2. ปัญหาความคิดเห็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่น ปัญหาความเสื่อมโทรมทางคุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ปัญหาการขาดความรับผิดชอบและเกียจคร้าน และปัญหาการขาดการประมาณตนและความยับยั้งชั่งใจ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อนาคตของประเทศไทยขึ้นอยู่กับเยาวชนในวันนี้ หากเยาวชนของชาติมัวหลงงมงายในอบายมุขและสิ่งเสพติด ประเทศจะมั่นคงได้อย่างไร สถาบันการศึกษาควรปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างให้เยาวชนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นมีทักษะในการจัดการ มีคุณธรรมและมีค่านิยมที่ดีงาม การหลีกเลี่ยงปัญหา การไม่มีความรับผิดชอบต่อเองและผู้อื่นในบางประการ เช่นการมีปัญหากันในการทำงานเป็นกลุ่ม ปัญหาการขาดการประมาณตนและความยับยั้งชั่งใจ ปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมซึ่งพบว่ามีค่านิยมหลายประการที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต เช่น การขาดความอดทน รวมทั้งปัญหาในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ขาดการประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม เช่น การดื่มสุรา และการขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักศาสนาคุณธรรม จริยธรรม

3. แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของบัณฑิตทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น แนวทางในการพัฒนา การมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและความสามารถด้านวิชาการในศาสตร์ต่างๆ ที่ได้เล่าเรียนและมีความสามารถในการปฏิบัติงาน ตลอดจนมีความรู้เท่าทันความเป็นไปและการเปลี่ยนแปลงของประเทศและของโลก ซึ่งเกิดจากการใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีระเบียบวินัยในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้สู้งานมีความมุ่งมั่นตั้งใจขยัน มานะอดทน มีความเพียรพยามยาม มีวินัย มีมนุษยสัมพันธ์ มิจิตอาสา และมีความรับผิดชอบในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย คือเป็นสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตโดยการพัฒนาหลักสูตรและทำการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานและดำเนินการตามพันธกิจด้านต่าง ๆโดยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่างๆเพื่อเสริมสร้างความเจริญและความเข้มแข็งให้กับชุมชนและท้องถิ่น เน้นในด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของบัณฑิตทาง รัฐประศาสนศาสตร์ในแต่ละด้าน ให้เป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรมจริยธรรมในการมีจิตสำนึก มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองให้มากขึ้นจนนำไปสู่การดำเนินชีวิตในการปฏิบัติเพื่อมีจิตใจที่ใสสะอาดใฝ่หาแต่ความดีงามทางด้านคุณธรรมจริยธรรม

References

เกรียงไกร เจริญผล (2553) ทำการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (2552) ศึกษาวิจัย เรื่องความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีพ.ศ.2552
สุจรรยา โชติช่วง (2554) ได้ศึกษาสภาพการพัฒนาอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-06