การออกแบบโปสเตอร์ยาเสพติดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพของสถาบันธัญญารักษ์

ผู้แต่ง

  • วนิดา แสงสุวรรณ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศรชัย บุตรแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

โปสเตอร์ยาเสพติด, การออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการออกแบบโปสเตอร์ที่มีเนื้อหาเชิงบวก (Positive) กับเนื้อหาเชิงลบ (Negative) เพื่อประกอบการให้ความรู้ด้านยาเสพติด2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของสื่อโปสเตอร์ที่มีเนื้อหาเชิงบวก (Positive) กับเนื้อหาเชิงลบ (Negative) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีต่อโปสเตอร์ยาเสพติดที่มีเนื้อหาเชิงบวก (Positive) และเนื้อหาเชิงลบ (Negative) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพของสถาบันธัญญารักษ์ จำนวน 38 ท่านโดยคัดเลือกจากประสบการณ์ในการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพไม่น้อยกว่า 3 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินคุณภาพโปสเตอร์แบบมาตรวัดประเมินค่า5 ระดับและแบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพรรณนา บรรยายข้อมูลโดยวิธีการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่า t-test สำหรับการเปรียบค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มตัวแปร

ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของโปสเตอร์ยาเสพติดเชิงบวก ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก(gif.latex?\bar{X}=4.5)คุณภาพของโปสเตอร์ยาเสพติดเชิงลบ ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X}=4.7) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพระหว่างโปสเตอร์เชิงบวก และโปสเตอร์ยาเสพติดเชิงลบ ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t4 = -0.88, p = 0.43) และความพึงพอใจของผู้ที่ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีต่อโปสเตอร์ยาเสพติดเชิงบวก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.4)และ ความพึงพอใจของผู้ที่ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีต่อโปสเตอร์ยาเสพติดเชิงลบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.5)

References

สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย, (2553). ประวัติความเป็นมาของ
ยาเสพติด.สืบค้นจาก: http://office.bangkok.go.th/doh/daptd/Knowledge/knowledge00.html
สถาบันธัญญารักษ์.(2550).โทษพิษภัยยาเสพติดและสมองติดยา[ภาพพลิก].กรุงเทพฯ: สถาบันธัญญารักษ์
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิยาสาส์น.
ธารทิพย์เสริมทวัฒน์. (2550). ทัศนศิลป์: การออกแบบพาณิชยศิลป์. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้ช่วยศาสตร์จารย์กาลัญวรพิทยุต.(2550) กลยุทธ์การออกแบบงานโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์.สาขาวิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า.
พรสนอง วงศ์สิงห์ทองและสุจินตนา อุทัยวัฒน์. (2538). การออกแบบโฆษณาการสร้างสรรค์และผลิตสื่อโฆษณา(พิมพ์ครั้งที่5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วรพงศ์วรชาติอุดมพงศ์. (2540). ออกแบบกราฟิก (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:โสภณการพิมพ์
สกนธ์ ภู่งานดี. (2546). การออกแบบและผลิตงานโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มายบุ๊คส์พับบลิชิ่ง.
ชญาภา จงจิตต์ และสุชาติ วิวัฒน์ตระกูล. (2539). การออกแบบสิ่งพิมพ์และการเตรียมสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์. ในเอกสารฝึกปฏิบัติรายวิชา ความรู้เฉพาะวิชาชีพเตรียมการพิมพ์สำหรับช่างปฏิบัติการเรียงพิมพ์1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07