รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการมีส่วนร่วม, การบริหารเครือข่าย, การจัดการศึกษามัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ ที่เป็นคณะกรรมการเครือข่ายจำนวน 340 คน เครือข่ายกรณีศึกษา 3 เครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษามี 6 ตอน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ หลักการพื้นฐานของรูปแบบ องค์ประกอบหลักของรูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการตามรูปแบบ แนวทางในการประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
References
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น, 2545.
ปรีชา สามัคคี. การพัฒนารูปแบบการประเมินแผนงานและโครงการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.
ราชกิจจานุเบกษา. “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 116 ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม 2542), 2542.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). รายงานประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์กรมหาชน.