การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม
คำสำคัญ:
บทเรียนออนไลน์, ประสิทธิภาพ, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น โดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ แล้วสร้างบทเรียนออนไลน์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากนั้นนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 25 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน คือ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพ การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66)
- ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68)
- ผลการพัฒนาบทเรียนบทเรียนออนไลน์ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนลิ้นฟ้าพิทยาคม ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) 81.6/85.7 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
- ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- 5. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.66)
References
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. การศึกษารูปแบบการบริหาร จัดการรายวิชาระบบ e-Learning ตามแนวการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. 2549.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. การสอนบนเว็บ (Web –Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 28 (มกราคม – เมษายน 2544): 13.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. อินเทอร์เน็ตเครือข่ายเพื่อ การศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 5 (กุมภาพันธ์ 2540): 9-18.
นริศ มิ่งโมรา. การพัฒนาเครื่องมือสร้างกรณีทดสอบสำหรับการทดสอบการยอมรับรายงานการศึกษาค้นคว้า (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์). นคราราชสีมา: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ถ่ายเอกสาร. 2549.
นฤมล ศิระวงษ์. การพัฒนารูปแบบการเรียนออนไลน์วิชาการเขียนหนังสือเพื่อการพิมพ์ในระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร. 2548.
มนต์ชัย เทียนทอง. การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ K-LMS. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารเทคโนโลยี สารสนเทศ. 2 (มีนาคม 2549): 43-51.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2543.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2545.
สุวิทย์ ยิบมันตะสิริ. การพัฒนาระบบการสอนแบบห้องเรียนเสมือนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์ คอม. (วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ถ่ายเอกสาร 2546.
หรรษา วงศ์ธรรมกูล. การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีสารสนเทศระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . วิทยานิพนธ์ กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร. 2541.
อนิรุทธิ์ โชติถนอม. การพัฒนาเว็บเพจเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับรายวิชา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การศึกษาวิทยาศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ถ่ายเอกสาร. 2545.