รูปแบบการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ศริญญา พละพงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก, การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการได้แก่ ผู้บริหารศูนย์ หัวหน้าศูนย์ หัวหน้าระดับชั้นปฐมวัย และบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 167 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารศูนย์ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หัวหน้าระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 3 ศูนย์ การสร้างและประเมินรูปแบบเบื้องต้นด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน และอีก 9 คน การประเมินความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบ ประเมินผลรูปแบบด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่มผู้ใช้รูปแบบ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ รูปแบบการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการ ประกอบด้วย การสำรวจความต้องการ การวางแผนการดำเนินงานตามแผน การประเมินผล องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย  การฝึกอบรมและการสาธิต และองค์ประกอบที่ 3 การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย การจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเน้นเด็กเป็นสำคัญ การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัย และระดับพัฒนาการของเด็ก การจัดประสบการณ์ตามหน่วยการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมให้ครบ 6 กิจกรรม การจัดกิจกรรมโดยการใช้สื่อและเทคโนโลยีมาใช้ร่วมในการจัดกิจกรรมการจัดสภาพแวดล้อมได้เหมาะสมกับเด็ก มีการประเมินพัฒนาการเด็กเพื่อมาวิเคราะห์ ไตร่ตรอง หาแนวทางแก้ไขปัญหาพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคลและใช้เป็นประโยชน์ในการวิจัยในชั้นเรียน การจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเน้นเด็กเป็นสำคัญ องค์ประกอบหลักทั้ง 3 นี้ ครอบคลุมภารกิจด้านการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก และผลการประเมินรูปแบบพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้. (2550). เอกสารประกอบการอบรม

ครู BBL ระดับอนุบาล: การจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตร Brain-based Learning ด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้

คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี) (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดการศึกษา ปฐมวัยตามหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง.กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วรนาท รักสกุลไทย. (2548). หน่วยที่ 6 การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 1-6. หน้า [6-1]- [6-66]. นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.

วลัย พานิช. (2546). การบูรณาการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติสู่การจัดการเรียนรู้ที่มีความหมาย. ใน สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ และคณะ (บรรณาธิการ), แนวคิดและ
แนวปฏิบัติสำหรับครูเพื่อรองรับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู. หน้า 43 - 80.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Caine, R.N. and Caine, G. (2002). Brain / Mind Learning Principles. [Online]
Available from: http://www.cainelearning.com/bbl/bbl2.htm.

Hohmann, M. and Weikart, D.P. (1995). Education Young Children. Ypsilanti : High/Scope Press

ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนวย แสงสว่าง. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์, 2540

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย หิรัญกิตติ. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และ ไซน์เท็กซ์, 2542

รองศาสตราจารย์นิรันดร์ จุลทรัพย์. กลุ่มสัมพันธ์สำหรับการฝึกอบรม. จ.สงขลา : 2542อาจารย์น้อย ศิริโชติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เทคนิคการฝึกอบรม. จ.สงขลา : 2522

Susan E. Jackson, Randall S Schuler. Managing Human Resources. Canada : South-Western, a division of Thomson Learning, 2003

ณัฐพงษ์ไพจิตรธนโชติ. (2548). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรทางการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร: จังหวัดพิษณุโลก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-18