การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การส่งเสริมคุณภาพชีวิต, คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ, ชมรมผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้ 1) หลักการ หมายถึง การดำเนินการของชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชมรม โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมที่เน้นการพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสันทนาการและการทำกิจกรรม ด้านสุขภาพ และด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเองและความสัมพันธ์ทางสังคม 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุด้านเศรษฐกิจ, ด้านสันทนาการและการทำกิจกรรม, ด้านสุขภาพ และด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเองและความสัมพันธ์ทางสังคม 3) การดำเนินการ ประกอบด้วย 3.1)การส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมความรู้เรื่องการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การมีความรู้ในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ การบริหารการเงิน และการจัดตั้งกองทุนชมรมผู้สูงอายุ 3.2) การส่งเสริมด้านสันทนาการและการทำกิจกรรม โดยการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ การทำกิจกรรมสันทนาการ การทำกิจกรรมอาสาสมัคร การสร้างเครือข่ายของชมรมผู้สูงอายุ 3.3) การส่งเสริมด้านสุขภาพ โดยการจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนดูแลและห่วงใย การจัดกิจกรรมเพื่อเชิดชูผู้สูงอายุ การจัดที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมที่ดี การปฏิบัติกิจกรรมในด้านธรรมะและการฝึกสมาธิ 3.4) การส่งเสริมด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเองและความสัมพันธ์ทางสังคม โดยการส่งเสริมการออม การพึ่งพาตนเอง การเยี่ยมเยือนกันที่บ้าน การสร้างแรงจูงใจให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก การมีสัมพันธภาพทางสังคมที่ดี การศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาศักยภาพตนเองและการสร้างความภาคภูมิใจ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ สมาชิกต้องเข้าร่วมกิจกรรมและปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด มีการประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ผู้นำที่มีศักยภาพ และสมาชิกชมรมจะต้องนำความรู้ที่ไปปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ และผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.41 และ 3.81 ตามลำดับ)
References
เจาะลึกระบบสุขภาพ. สังคมผู้สูงอายุ. (ออนไลน์) 2558. (อ้างเมื่อ 19 มกราคม 2560) จาก http:// www.hfocus.org:
ชนนิพัทธ์ ประเสริฐพรรณ. “กิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง: กรณีศึกษา”. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 20,3(2557) : 388-400.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2556.
นันทิยา ใจเย็น. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พิการในพื้นที่ของเทศบาลตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.
ดวงดาว เษตรพงษ์. การดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์รัฐประศานศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555.
ประหยัด พิมพา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 อุดรธานี, 2556.
พระมหาวิชัย ติ๊บกันเงิน. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2557.
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล และ ธันวดี ดอนวิเศษ. แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี.
รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2557.
ไพบูลย์ เจริญวงค์. รูปแบบการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพชมรมผู้สูงอายุ บ้านคำโพน ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.
ภูมิวัฒน์ พรวนสุข. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2558.
ฤทธิชัย แกมนาค และสุภัชชา พันเลิศพาณิชย์. “รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย”. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 11,(2559): 47-62.
เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล. นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2555.
สมคิด แทวกระโทก. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2559.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. ประชากรและสังคมในอาเซียน : ความท้าทายและโอกาส. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2556.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน. กรุงเทพฯ : บ. ที คิว พี จำกัด, 2555.
อรวรรณ น้อยวัฒน์. จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์. (ออนไลน์) 2555 (อ้างเมื่อ 20 มกราคม 2560) จาก http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book55_3/pbhealth.html
Chen, J. and others. Factors related to well-being among the elderly in urban China focusing on multiple roles. BioScience Trends, 2010.
World meter. world-population. (Online) 2017 (cite 15 August 2017). Available from:
http://www.worldometers.info/world-population/.
Zhang, Tai and others. “Influence of culture, residential segregation and socioeconomic development on rural elderly health-related quality of life in Guangxi, China” Health and Quality of Life Outcomes. 14, (2016): 1-10.