การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทอย่างฉลาดรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความใฝ่รู้สำหรับผู้เรียน

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา พลพวก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • ธีรวุฒิ เอกะกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, ความใฝ่รู้

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความใฝ่รู้ ระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความใฝ่รู้ของผู้เรียน ตัวอย่างเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 205 คน และผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 382 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความใฝ่รู้ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยนำผลการวิจัยระยะที่ 1 มากำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประเมินความเหมาะสมของนวัตกรรม และรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบ สื่อนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความใฝ่รู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบวัดความใฝ่รู้และแบบสอบถามความพึงพอใจ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความใฝ่รู้ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง ตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนารีนุกูล แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 45 คน และกลุ่มควบคุม 45 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ตัวอย่างเป็นผู้เรียนกลุ่มทดลองในระยะที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความใฝ่รู้ตามความคิดของครู อยู่ในระดับปานกลาง ระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและระดับความใฝ่รู้ของผู้เรียน อยู่ในระดับน้อย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด   และมีประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 81.67/85.20 ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความใฝ่รู้ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 75 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กรรณิกา คณานันท์. (2551) การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

กฤษดา ดีพิจารณ์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เอกสารจริงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทิวไผ่งามกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะ ภาษาต่างประเทศ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉัตรปวีณ อำภา. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวข้องกับการสอนอ่านภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัณยตา หมื่นศรี. (2557) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยการจัดการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้เฟซบุ๊คของหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ศรัณย์พร ยินดีสุข. ( 2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาตามแนวอินเตอร์แอกทีฟคอนสตรัคติวิสต์และการกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันทดสอบแห่งชาติ. (2558). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O – NET). ปีการศึกษา 2558.

สภาสถาบันราชภัฏ,สำนักงาน. (2545). การประยุกต์รูปแบบการเรียนรู้ ตามแนวพระราช ดำริ “ฉลาดรู้” สู่กระบวนการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตีรณสาร.

สุทธิรา ปลั่งแสงมาศ. (2550). การใช้เอกสารจริงที่เน้นสื่อสารในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

สุพรรษา ศรประเสริฐ (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้และแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและ
การสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศุภานัน สิทธิเลิศและคณะ. (2555) การประยุกต์แนวพระราชดำริด้านการเรียนรู้ “ฉลาดรู้”สู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ชุดวิชาพื้นฐานทางการศึกษาและการศึกษาแบบเรียนรวม

Murdoch, Georges. (1986). “A More Integrated Approach to the Teaching of Reading” English Teaching Forum 34, 1.

Trilling, Bernie and Charles Fadel ( 2012) 21st Century Skills : learning for Life in our Times.
San Francisco : John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-19