การศึกษาความเหลื่อมล้ำของการเปลี่ยนผ่านวิทยุดิจิทัลในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กุลกนิษฐ์ ทองเงา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความเหลื่อมล้ำ, วิทยุดิจิทัล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อวิทยุกระจายเสียงถึงความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านวิทยุดิจิทัลในประเทศไทย ประกอบด้วย ด้านการบริหารธุรกิจ ผู้บริโภค กระบวนการผลิต และการออกอากาศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในด้านสื่อวิทยุกระจายเสียง โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการด้านสื่อวิทยุกระจายเสียง จำนวน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 30 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับความเหลื่อมล้ำเมื่อเกิดการเปลี่ยนผ่านวิทยุดิจิทัลในประเทศไทยทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญกับด้านของการบริหารธุรกิจเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านผู้บริโภค ด้านการออกอากาศ และลำดับสุดท้ายคือ ด้านของกระบวนการผลิต และจากผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้ว่า วิทยุดิจิทัล เป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทยจึงอาจยังไม่มีความพร้อมเข้าสู่การเป็นวิทยุดิจิทัลในขณะนี้ ซึ่งการเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิทัลนับว่าเป็นการเข้าสู่ความเป็นสากล แต่ควรมีการช่วยเหลือให้กับผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงโดยเฉพาะสถานีที่มีทุนน้อยให้ได้รับการเตรียมตัวอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทั้งประเทศ

References

กรมโฆษณาการ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียง. [ออนไลน์] 2554. [สืบค้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556]. จากhttp://hq.prd.go.th/engineer/download/Genenal/Knowledge%20 Technician_Radio.pdf

กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. บทสรุปผู้บริหารข้อพิจารณาของการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอล เล่มที่ 2. (ออนไลน์) 2556 สืบค้นวันที่ 7 มกราคม 2557 จากhttp://202.47.224.92/Stick_frequency/News_NBTC/05252012644042_Executive_S ummary.pdf

กุลกนิษฐ์ ทองเงา. เทคโนโลยีออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง. กรุงเทพ ฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น. 2556.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7 สุวีริยาสาส์น กรุงเทพฯ, 2545.

พัชราพร ดีวงษ์. (2557). การคิดสร้างสรรค์รายการวิทยุกระจายเสียงในยุคดิจิทัล:กรณีศึกษา สถานีวิทยุ SEED 97.5. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน. [ออนไลน์] 2555. [สืบค้นวันที่ 15 ตุลาคม 2557]. จากww.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_june_14/pdf/aw16.pdf

สาโรจน์ แววมณี. การเปลี่ยนผ่านสู่การกระจายเสียงวิทยุระบบดิจิตอลของประเทศไทย. [ออนไลน์] 2556. [สืบค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2557]. จาก http://thainfcr.org/node/119 Sat, 2013-08-10 22:49 -- editor

อิสรีย์ ประดิษฐ์ธีระ. ความเหลื่อมล้ำของระบบโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทยกับการ เปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลของประชาคมอาเซียน. บทความวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2555.

งานสัมมนา Talking Turkey Digital conference ณ Beykent University, Taksim Campus เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี. [ออนไลน์] 2558. [สืบค้นวันที่ 2 มิถุนายน 2558]. จาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/580700000001.pdf

Ana Gargallo-Castel, Luisa Esteban-Salvador, Javier Pe’rez-Sanz (2010). Impact of Gender in Adopting and Using ICTs in Spain, Journal of Technology
Management & Innovation V.5 N.3 Santiago Oct. 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-20