คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, เทศบาลตำบลหนองญาติบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำนวน 833 คน โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าแจกแจงความถี่ (Frequency) และการทดสอบสมมติฐาน ค่า t-test ค่า F-test (One-Way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe)
ผลการวิจัย พบว่า (1.) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองจังหวัดนครพนม อยู่ในระดับสูง 4 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย (=4.36) ด้านความปลอดภัยในชีวิต (=4.28) ด้านนันทนาการ (=4.25) และด้านการศึกษา (=4.16) และอยู่ในระดับต่ำ 1 ด้าน คือด้านที่อยู่อาศัย (=2.26) (2.) การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พบว่า ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกันโดยรวมและรายด้านมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้สูงอายุมีอาชีพ และรายได้ต่างกัน มีคุณภาพชีวิต โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
จำนง ขจรศักดิ์ศรี. (2556). คุณชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.
ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ (2557). ปี 68 ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2561.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พัชชานันท์ ผลทิน (2551). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตตำบลหนองตาคง อำเภอโป้งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สุทธิพงศ์ บุญผดุง (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วาสนา อ่ำเจริญ (2552). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนา อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรัทยา กุลเกลี้ยง (2556). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2556). การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและข้อมูลสถิติที่สำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุในมูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พงษ์พาณิชย์เจริญผล.
Batista Vitorino, P. A., and Martins da Silva, F. (2010). Level of Quality of Life in The Elderly Un ATI-UCB.
Educação Física em Revista. 4(3): abstract.
Krecie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.) Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95) New York: Wiley & Son.